กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมลดน้ำหนัก พิชิตความอ้วน ตามวิธีชุมชน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3031-12-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดเฟาซี ลาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมตาบอลิค ซินโดรม (Metabolic syndrome) หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือ “โรคอ้วนลงพุง “มีสาเหตุเริ่มมต้นจาการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันสูง ร่วมกับการไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักมากเกินไป พุงยื่น สำหรับคนไทย ผู้ชายไม่ควรมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิง ไม่ควรมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ผู้ที่มีปัญหาอ้วนลงพุง มักจะมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 130/80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป (ความดันโลหิตตัวใดตัวหนึ่งสูงก็ถือว่าผิดปกติ ) น้ำตาลในเลือดสูง ตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ไขมันไตรกรีเซอไรด์สูง ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL cholesterol ) ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้ชาย และต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป สำหรับผู้หญิง การมีความผิดปกติต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพาตที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือด นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และยังก่อให้เกิดโรคตับเรื้อรังจากการที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งนำโรคไปสู่โรคตับแข็งได้ ผู้ป่วยเมตาบอลิค ซินโดรม อาจจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร ยกเว้น “อ้วนลงพุง”ดังนั้น หากไม่ได้รับการสุขภาพก็จะไม่ทราบว่ามีความดันโลหิตสูง น้ำตาลสูง หรือมีไขมันผิดปกติ บางรายมีความดันโลหิตสูง อาจจะมีอาการปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ ส่วนรายที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเข้าขั้นเบาหวาน อาจจะมีปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หรือมีอาการอื่นๆของโรคเบาหวาน     จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ 2557 พบว่าทั่วโลกมีผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก/ตร.ม.ขึ้นไป อย่างน้อย 600 ล้านราย นั่นคือ ร้อยละ 39 ของผู้ใหญ่ในโลกนี้มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน อีกด้วย ในประเทศไทย โรคอ้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 20,000 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี พ.ศ.2557 และจากผลการสำรวจล่าสุด พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยโรคอ้วน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิปิก โดยมีคนอ้วนมากถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศ และยังแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านคนต่อปี การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยทั่วประเทศโดยการตรวจร่างกาย คนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปในปี พ.ศ.2552 พบว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./ตร.ม. ขึ้นไป) มากกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี พ.ศ.2554 พบว่าเพิ่มขึ้น 2 เท่า (จาก 17.2% เป็น 34.7%) และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 3.2 % เป็น 9.1 %) หากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุด เป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียเท่านั้น โรคอ้วนมีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลได้ทุกคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงของการเกิดภาวะอ้วนได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดถาวะอ้วนได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไขมันสูง มีพลังงานสูง วิถีชีวิต นั่งๆนอนๆ ขาดกิจกรรมทางกาย ประวัติความอ้วนในครอบครัว อายุที่มากขึ้น รวมทั้งการสูบบุหรี่
ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 84 คน ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนโยบายตำบลจัดการสุขภาพและหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จากผลการคัดกรองสุขภาพพบว่ามีผู้ที่รอบเอวและ BMI เกินเกณฑ์จำนวน 60 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 70.5 จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคอ้วนในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว จะเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนตามมาอีก โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่หากสามารถแก้ปัญหาโรคอ้วนได้ ก็จะทำให้อัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ในหมู่บ้านซึ่งมีอยู่มาก ลดลงด้วย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวีจึงได้จัดทำโครงการ ลดน้ำหนัก พิชิตความอ้วน ตามวิธีชุมชน ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับดีอย่างน้อยร้อยละ 80

 

0.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มีน้ำหนักตัวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน

 

0.00
3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วน มีความรู้ในการป้องกันโรคอ้วน การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความรุนแรงของโรคอ้วน อยู่ในระดับสูงอย่างน้อยร้อยละ 80

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับดีอย่างน้อยร้อยละ 80

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มีน้ำหนักตัวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วน มีความรู้ในการป้องกันโรคอ้วน การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความรุนแรงของโรคอ้วน อยู่ในระดับสูงอย่างน้อยร้อยละ 80

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

3.1 ขั้นตอนการเตรียมโครงการ/กิจกรรม 3.1.1 ประชุมวางแผนการจัดทำโครงการและรูปแบบการดำเนินโครงการ 3.1.2 รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะอ้วนลงพุง 3.1.3 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ 3.1.4 จัดทำคู่มือ “ภารกิจพิชิตความอ้วน”สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 3.1.5 ทำหนังสือเรียนเชิญวิทยากรและติดต่อประสานงาน 3.1.6 จัดหาอุปกรณ์การออกกำลังกาย 3.1.7 ประชุมเตรียมความพร้อมของคณะ 3.1.8 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบเกี่ยวกับการอบรมตามวันละเวลาที่กำหนด

3.2 ขั้นตอนดำเนินโครงการ/กิจกรรม         ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวก่อนเข้าร่วมโครงการเพื่อประเมิน
3.2.1 ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนและรับคู่มือและทำแบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน 3.2.2 ฟังบรรยายโดยวิทยากรเรื่อง โรคอ้วน การเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้อง การควบคุมน้ำหนักตัว และวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย 3.2.3 นัดมาทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชั่งน้ำหนักและตรวจคู่มือเพื่อดูความก้าวหน้าของการลดน้ำของแต่ละคน เดือนละ 1 ครั้ง 3 เดือน 3.2.4 จัดประกวด ต้นแบบหุ่นดี สุขภาพดี เมื่อสิ้นสุดโครงการ 3.2.5 ประเมินผลโดยโครงการโดยการทำแบบสอบถาม 3.2.6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของ อสม.และประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน และสามารถป้องกันพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน     2.ร้อยละ20 ของคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์สามารถลดน้ำหนักได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 09:53 น.