กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2564 รพ.สต.ศรีประชาอุทิศ
รหัสโครงการ 64-L5251-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ศรีประชาอุทิศ
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกชนิภา บุญมาศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 11 ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง 7 ล้านคน โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราการตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกในปี พ.ศ.2562 การดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ เป้าหมายสตรี 30 – 60 ปีทั้งหมด จำนวน 250 ราย แต่มีการตรวจมะเร็งปากมดลูก 11 ราย พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์ จำนวน 1 ราย และส่งต่อรักษาโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.18 ของผู้ที่มาตรวจมะเร็งปากมดลูก ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามอาการ
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ เห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถค้นหามะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ โรงพยาบาลสุขภาพตำบลศรีประชาอุทิศ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองหา cell มะเร็งปากมดลูก และส่งต่อเข้าระบบการรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

1.00
2 2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก

ร้อยละ100ของสตรีที่ตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมผิดปกติได้รับการส่งต่อ

1.00
3 3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ 90

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประสานงานกับหน่วยบริการในพื้นที่ (รพ.สต.หรือ รพช.รพท.)เพื่อขอข้อมูลสตรีอายุ 30-60 ปีที่เคยเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของประชากรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
      2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่และประสาน อสม.เพื่อสำรวจสตรีอายุ 30 – 60 ปีที่พึ่งเข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านเพื่อขึ้นทะเบียนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก       3.ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากต่างหน่วยบริการเพื่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพื่อลดการอายในการตรวจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
    4.จัดทำแบบติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อเชิญชวนการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกรายบุคคล ตามเขตของพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบ
    5. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการให้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมรับเอกสารประชาสัมพันธ์เชิญชวนการตรวจมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของตนเอง     6. จัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจากวิทยากรพร้อมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 7. สตรีอายุ 30-60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากหน่วยบริการในพื้นที่ (รพ.สต.) หรือหน่วยบริการประจำ (รพช. รพท.) ที่กำหนด
8. หน่วยบริการประสานและส่งต่อสตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการรักษาต่อเพื่อจัดการอย่างเหมาะสมตามแนวทาง Abnormal Pap Management Guideline โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มตามสิทธิการรักษา 9. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีอายุ 30-60 ปีที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมาเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20       2. สตรีที่มีผลการตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูกผิดปกติได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมตามแนวทาง (Abnormal Pap Management Guideline) ร้อยละ 100 ตามสิทธิการรักษา       3. ร้อยละ 90 ของสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
          4. ร้อยละ 100 ของสตรี อายุ 30-60 ปี ของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมผิดปกติได้รับการส่งต่อตามสิทธิการรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 14:21 น.