กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเกาะป้องกันไข้เลือดออกและมาลาเลีย
รหัสโครงการ 60 L4145-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านกาตอง
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาตอง
พี่เลี้ยงโครงการ (...นายกามา โตะลากอ...) ตำแหน่ง...นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ...
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.502,101.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตองและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องซึ่งในพื้นที่ตำบลกาตองมีการเกิดโรคระบาดอยู่ตลอดทุกปี เป็นปัญหาเรื้อรังด้านสุขภาพของประชาชนในตำบลกาตองตลอดมา จากการทำเวทีประชาคม ประชาชนในหมู่บ้านพบปัญหา ประชาชนส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคติดต่อเช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคอุจจาระร่วง และโรคตาแดงอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เล็งเห็นปัญหานี้และเพื่อการดำเนินงานด้านสุขภาพของประชาชนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและยั่งยืนต่อไป นั้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตองและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาตองจึงได้ริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลกาตองโดยตระหนักถึงความสะอาดความน่าอยู่ของที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ตำบลกาตองเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคอันที่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพเช่นการขจัดปัญหาขยะหรือมลภาวะ น้ำขัง กลิ่นเสียงหรือพาหะนำโรคไม่ว่าจะเป็นยุงแมลงสาบหนูแมลงวัน เพราะเมื่อเรามีการจัดการกับปัญหาสภาวะต่างๆแล้ว ผลที่ตามมาก็จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ ดังคำที่ว่าไว้“การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ”ฉะนั้นจึงเกิดเป็น โครงการสร้างเกราะ ป้องกันไข้เลือดออกและมาลาเรียขึ้นโดยการนำของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง ร่วมกับ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและความร่วมมือของประชาชนในตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1

1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย 2.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนในโรงเรียน สถานที่ราชการและสถานที่อื่นๆในชุมชน 3.เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักต่อการรักษาความสะอาดในครัวเรือนชุมชนปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1อบรมให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัว ตัวแทนนักเรียนเพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อที่นำโดยยุง 2.2การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และโรงเรียน
- จัดสัปดาห์รณรงค์ในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายโดยให้ อสม. แกนนำครอบครัวและนักเรียน เดินตามบ้าน พร้อมประชาสัมพันธ์และแจกสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกๆหลังคาเรือน - ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนหลังละหมาดวันศุกร์ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามมัสยิดต่างๆในเขตรับผิดชอบ - นิเทศ ติดตาม ผลการปฏิบัติงาน ของอสม. เดือนละ 1 ครั้ง 2.3ค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคทุกรายในเขตรับผิดชอบ -รับข้อมูลจากเครือข่าย ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคโดยเร็วที่สุด (ภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับรายงาน ไม่มีวันหยุดราชการ) -พ่นหมอกควันถูกวิธี (พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์) ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย และบ้านข้างเคียง รัศมี 50 -100 เมตร 2.4การควบคุมกำกับ และการประเมินผล -ติดตามผลการดำเนินงาน -ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อประเมินเรื่องปัญหา และ อุปสรรคในการดำเนินโครงการและหาแนวทางการแก้ไข -.สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
    1. ประชาชน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง
    2. ประชาชนที่ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 20:50 น.