กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะ ลดโรค หมู่ 10 บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2560 (อสม.บ้านทุ่งมะขาม)
รหัสโครงการ 60-L8402-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,535.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินอุดหนุนสาธารณสุขมูลฐานบ้านทุ่งมะขาม ม.10
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชมน มีบุญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 317 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย เพิ่มอัตราการอุปโภค บริโภค ของประชาชนทำให้เกิดเศษสิ่งเหลือใช้ในปริมาณจำนวนมาก ก่อให้เกิดเป็นขยะมูลฝอย นับเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในชุมชนที่ต้องมีการจัดการและรีบดำเนินการแก้ไข ในปี 2558 พบปริมาณมูลฝอยเกิดขึ้นในชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 26.85 ล้านตันต่อปี หรือปริมาณวันละ 73,560 ตัน โดยมีอัตราการเกิดขยะของประชากรในชุมชนทัวประเทศโดยเฉลี่ย 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และมีแนวโน้มจะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี ในการจัดการมูลฝอย 4.94 ล้านตันต่อปี ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 8.34 ล้านตันต่อปี นำไปกำจัดถูกต้อง 7.15 ล้านตันต่อปี นำไปกำจัดไม่ถูกต้อง และ 6.22 ล้านตันต่อปี ตกค้างในพื้นที่และกำจัดไม่ถูกต้อง ซึ่งมูลฝอยที่ตกค้างในพื้นที่และกำจัดไม่ถูกต้องจะเป็นปัญหากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวชในชุมชน ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้มีการเกิดโรค จากรายงานการเกิดโรคของผู้ป่วยในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม ปี 2559 ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 1,586 ราย รองลงมาโรคผิวหนัง จำนวน 331 ราย โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร จำนวน 116 ราย และโรคไข้เลือดออก จำนวน 10 ราย โดยแบ่งเป็นหมู่ ซึ่งหมู่ 10 จำนวน 8 ราย และหมู่ 7 จำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นจำนวนมากและเป็นปัญหาใหญ่ของเทศบาลตำบลคูหาใต้ ทั้งนี้เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลทุ่งมะขามและนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะ ลดโรค หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งมะขาม ประจำปี 2560 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธีและรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์รำคาญและพาหะนำโรค

ครัวเรือนในพื้นที่หมู่ 10 สามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนในรูปแบบ 3R อย่างน้อยร้อยละ 70

2 ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะตามหลัก 3R ได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะในครัวเรือนในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 รวบรวมข้อมูลปัญหาโรคที่เกิดจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง 1.2 ทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม 1.3 เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในงานอบรม 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์ของปัญหาขยะและการจัดการที่ไม่ถูกต้องก่อให้เกิดโรคต่างๆ แก่เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม ทั้งหาแนวทางจัดการขยะในชุมชน 2.2 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 2.3 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง จำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 แกนนำประชาชน อสม. ผู้นำชุมชนและตัวแทนร้านค้า จำนวน 30 คน รุ่นที่ 2 ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งมะขาม จำนวน 257 คน โดยอบรมให้ความรู้เรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.สถานการณ์และอันตรายจากการจัดการขยะในพื้นที่ 2.โรคที่เกิดจากการจัดการขยะ แนวทางการป้องกันและควบคุมโรค 3.การจัดการขยะตามหลัก 3R 4.การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษขยะในครัวเรือน รุ่นที่ 3 นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะขาม จำนวน 30 คน โดยอบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมเข้าฐาน ดังนี้ 1.ฐานอันตรายจากขยะ 2.ฐานโรคที่เกิดจากขยะ 3.ฐานการคัดแยกขยะตามหลัก 3R 4.ฐานสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ 5.ฐานกระถางต้นไม้รีไซเคิล 6.ฐานธนาคารขยะรีไซเคิล 2.4 จัดหาอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมคัดแยกขยะในชุมชนรูปแบบ 3R ทุกหลังคาเรือน ได้แก่ 2.4.1 ถังพลาสติก ขนาด 100 ลิตร เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือน 2.4.2 ถังพลาสติกคัดแยกขยะแบบ 3R 2.4.3 กระสอบปุ๋ยขนาด 50 กก. สไหรับแยกขยะ 2.5 ประสานงานเทศบาลตำบลคูหาใต้เก็บขยะที่ได้จากการคัดแยกเพื่อไปทำลาย 3.ขั้นประเมินผล 3.1 ประเมินผลการดำเนินโครงการ ค้นหาปัญหาอุปสรรคการดำเนินโครงการและหาวิธีดำเนินการแก้ไข 3.2 ติดตามการดำเนินโครงการคัดแยกขยะ สมาชิกในหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะตามหลัก 3R จากต้นทางได้ถูกต้อง 2.ลดแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์รำคาญและพาหะนำโรค 3.สร้างภูมิทัศน์บริเวณบ้านที่สะอาดน่ามองและไม่มีกลิ่นเหม็น 4.ประชาชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะรีไซเคิล 5.ลดต้นทุนการเกษตรจากการทำน้ำหมักชีวภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2560 09:34 น.