กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่น วัยใส ปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 64-L3066-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา ตำบลท่ากำชำ
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยามิง ดามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนาเซร์ หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
20.00
2 ร้อยละของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” อันประกอบไปด้วย 7 สาขาวิชาชีพ ในระยะแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ซึ่งต่อมาเครือข่ายฯ ได้ขยายออกไปเป็น 17 วิชาชีพ ที่เพิ่มมาอีก 10 วิชาชีพ ได้แก่ หมออนามัย จิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ รังสีเทคนิค เวชนิทัศน์ สัตวแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่” ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี ซึ่งชมรมตาดีกา ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในฐานะที่มีความใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมจากการสำรวจเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ม.1 บ้านท่ากำชำ มีผู้สูบบุหรี่ เป็นประจำที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี จำนวน 72 คน และ ม.5 บ้านบางราพา มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำที่มีอายุ ไม่เกิน 25 ปี จำนวน 84 คน ทางชมรมตาดีกา ตำบลท่ากำชำ จึงได้จัดทำ “โครงการวัยรุ่น วัยใส ปลอดบุหรี่” เพื่อให้เด็ก เยาวชน ห่างไกลจากการสูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ที่กำลังสูบเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การติดสิ่งเสพติดอื่นๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00 0.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ)

40.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
25 ม.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 ชุมชนปลอดบุหรี่ 0 0.00 -
10 - 11 ก.พ. 64 พิษบุหรี่ และยาเสพติด 0 11,000.00 -
17 - 25 ก.พ. 64 สายใยรักครอบครัว 0 22,000.00 -
21 เม.ย. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมเดินประชาสัมพันธ์การต่อต้านการสูบบุหรี่ 0 7,000.00 -

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม
1.แต่งตั้งคณะทำงาน 2.จัดประชุมคณะทำงาน 3.ประชาสัมพันธ์โครงงาน 4.นำเสนอแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ 5.จัดทำแผนการดำเนินงานบูรณาการร่วมกัน 6.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง พร้อมประชุมแลกเปลี่ยนก่อนและหลังการดำเนินงาน จำนวน 2 ครั้ง กิจกรรมที่ 2 พิษบุหรี่ และยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมอบรม เรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาเสพติด การดูแลคนในครอบครัวสร้างสานสัมพันธ์ให้กำลังใจกันและกัน มีส่วนร่วมในการให้เด็กและเยาวชนเลิกบุหรี่
กิจกรรมที่ 3 สายใยรักครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม แสดงความจำนงในเอกสาร พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อประกาศตนเลิกบุหรี่ และมีการเล่าประสบการณ์ วิธีการและกลวิธีงดละเลิกบุหรี่ และทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและลูก เช่น การกอด บอกรัก และให้กำลังใจกันและกัน พร้อมมีการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ วิธีการเลิกบุหรี่ จากวิทยากร และการติดตามและประเมินผล
กิจกรรมที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมเดินประชาสัมพันธ์การต่อต้านการสูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม
ปลูกจิตสำนึก ประชาสัมพันธ์ มีการร่วมบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดมัสยิด กวาดขยะ เก็บขยะริมทะเล ฯลฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
  2. เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
  3. เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่มเพื่อนและครอบครัว
  4. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 10:14 น.