กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รหัสโครงการ 64 - L4138 - 02 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจิตอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 12,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสนานี มามุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จากสถิติพบผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 50 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2528 และเพิ่มเป็นกว่า 170 ล้านคนในขณะนี้ และมีการทำนายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคนในปีพ.ศ. 2568 (สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ : 2555) และพบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกในปัจจุบันจำนวน 1.5 ล้านคนซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 7 ล้านคนต่อปี (กลุ่มพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยง สำนักโรคไม่ติดต่อ : 2555) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคเรื้อรังทั้ง 2 โรคนี้กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ จากสถิติ พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2551 - 2555 สูงขึ้นเป็น 3.90, 3.62, 3.69, 5.71 และ 5.73 ตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2551 - 2555 สูงขึ้นเป็น 12.22, 11.06, 10.76, 11.88  และ 12.06 ตามลำดับ (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556) นอกจากนี้ยังพบว่า โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ยังเป็นสาเหตุการตายใน 5 อันดับแรกของคนไทย ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความหนาแน่น มีความเครียดมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะบริโภคอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารจานด่วนซึ่งปริมาณของเกลือหรือธาตุโซเดียม
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นต้น ทำให้แนวโน้มของผู้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานบางส่วนที่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า อัมพฤกษ์ อัมพาต พิการและเสียชีวิต เป็นต้น (วินัย สวัสดิวร, 2551:4) จากสถิติของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551 พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูง 8.24 และอัตราเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 12.26 (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556)
ในพื้นที่จังหวัดยะลา พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2551 - 2555 สูงขึ้นเป็น 8.24, 6.70, 6.41, 6.32 และ 4.63 ตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2551 – 2555 สูงขึ้นเป็น 12.26, 7.74, 13.64,7.94 และ 7.64 ตามลำดับ (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556)
ปัจจุบัน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อพันประชากร ในปี พ.ศ. 2563 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 14.96 และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 4.76 ดังนั้น เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา จึงได้จัดทำแผนงาน/โครงการ โดยนำหลักการ ๓ อ. ๒ ส. ซึ่งประกอบด้วย ๓ อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ๒ ส. ได้แก่ สูบบุหรี่ สุรา มาใช้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

ผู้เข้ารับการการอบรมกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค  3 อ. 2 ส.  มากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้รับกาปรัลเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปรียบเทียบก่อน-หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในประชากรกลุ่มเสี่ยง 85 12,150.00 12,150.00
รวม 85 12,150.00 1 12,150.00
  1. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานจำนวน 85 คน
  2. ประเมินภาวะ BMI วัดรอบเอว รอบสะโพก ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด(DTX)และวัดความดันโลหิตก่อนและหลังร่วมโครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยใช้สื่อให้ความรู้ได้แก่ Power point แผ่นพับบอร์ดนิทรรศการ โมเดล   อาหารเป็นต้น โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. แบ่งออกเป็น 5  ฐานที่ 1อ.อาหาร ฐานที่ 2 อ.ออกกำลังกาย ฐานที่ 3 อ.อารมณ์ ฐานที่ 4
      ส.สูบบุหรี่  ฐานที่ 5 ส.สุรา ใช้แผ่นพับฯลฯ
  4. ติดตามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง
2.ประชาชนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3.มีเครือขาย / แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2 ส และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 11:40 น.