กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจุดเริ่มต้นมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต ปี2564 ตำบลสะเอะ
รหัสโครงการ 64-L4114-01-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดูซงกูจิ
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2564 - 10 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิตรียะห์ แดเบาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางมาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
60.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
60.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่นับตั้งแต่การปฏิสนธิและตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด(270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปี (730วัน) ช่วง 1,000 วันแรกเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง อารมณ์และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างเซลล์สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่ไปกับการสร้างเส้นใยประสาท ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การได้รับการดูแลที่ดี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึง อายุ 2 ปี จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด ครรภ์ของแม่ คือโลกของลูกลูกเรียนรู้ผ่านฮอร์โมนที่บ่งบอกอารมณ์ของแม่ในแต่ละวัน แม่รู้สึกอย่างไร ลูกรู้สึกอย่างนั้น ดังนั้นการรักษาใจของแม่ และดูแลสุขภาพของแม่ จึงเป็นการพัฒนาจิตใจและสุขภาพทั้งแม่และลูกไปพร้อมกันตลอด 9 เดือน โดยมีพ่อ และวงศาคณาญาติเป็นผู้เกื้อกูลให้แม่สามารถรักษาภาวะจิตใจและสุขภาพที่ดี ได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ พ่อแม่ ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง การจัดการภาวะจิตใจ อารมณ์และการสื่อสารในครอบครัว จะทำให้ครอบครัวมีทักษา และความรู้ในการเลี้ยงดุบุตรอย่างมีสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิด พัฒนา จนเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต การที่จะเริ่มต้นดูแล มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมทั้งระหว่างตั้งครรภ์ ในการให้ความรู้มารดาตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ และป้องกันการเกิด อัตรามารดาและทารกตายแรกคลอด
จังหวัดยะลามีสถิติมารดาตั้งครรภ์และหลังคลอดเสียชีวิต ในปี งบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา เท่ากับ 6 ราย แยกเป็นอำเภอกรงปินัง 2 ราย จากภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ เกิด จากความขาดความตระหนัก ในการดูแลตนเอง ขณะตั้งครรภ์ในภาวะที่มีความเสียงสูง และหลังคลอด มีประวัติมารดาที่เสียชีวิตหลังคลอด เคยใช้สารเสพติด ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวของมารดาตั้งครรภ์และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ในปีงบประมาณ 2563 ตำบลสะเอะ มีมารดาตั้งครรภ์ทั้งหมด 103 ราย เป็นมารดาที่มีความเสี่ยงสูง3 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.91 เสี่ยงจาก GDMA2 1 ราย , Hyperthyroid 1 ราย , Hypothyroid 1 ราย ทั้ง 3 ราย มีมารดาที่มีภาวะโลหิตจาง 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.38 ได้รับการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีมรพ.สต. และแพทย์ในโรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ควรที่จะชะล่าใจ จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่องและให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ต่อไป ทั้งในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงเดิม ตลอดจนค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้ไวที่สุด ในการนำเข้าสู่กระบวนการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อสุขภาพของมารดาตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและทารก นำไปสู่การสร้างมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ให้สมบูรณ์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

60.00 80.00
3 1.เพื่อเตรียมความพร้อมให้คู่สามีภรรยาที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดีในอนาคต 2.เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ 3.เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคน ได้รับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 4.เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการประเมินกายจิตสังคมและได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 5.เพื่อส่งเสริมให้สามีและครอบครัวได้มีบทบาทในการช่วยเหลือดูแลภรรยาและลูก

1.ภาวะโลหิตจางในสตรีวัยเจริญพันธ์และสตรีตั้งครรภ์ ไม่เกิน ร้อยละ 15 2.สตรีตั้งครรภ์ทุกคน ได้รับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ให้ได้ร้อยละ 80
3.มีการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่พบ มีความเสี่ยง เพื่อพบแพทย์ เพื่อดูแลเฉพาะราย ร้อยละ 100
4.สตรีหลังคลอดรับการดูแลสุขภาพหลังคลอดตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่า ร้อยละ 80 5.สตรีหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ร้อยละ 50

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 ประชาสัมพันธ์ จูงใจให้หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ 0 0.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 เยี่ยมมารดาหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ทุกราย 0 0.00 -
26 ก.พ. 64 1.ประชุมวางแผนทีมงาน 0 500.00 -
1 - 31 มี.ค. 64 .สำรวจสตรีวัยเจริญพันธ์ 0 0.00 -
6 เม.ย. 64 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามหลักสูตรการเตรียมความพร้อมในการมีบุตร 0 12,250.00 -
20 เม.ย. 64 จัดเวทีประชุมเสวนา อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องดูแลสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป สตรีตั้งครรภ์เสี่ยง และเสี่ยงสูง 0 12,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จากแบบประเมิน 1.คู่สามีภรรยาที่แต่งงานใหม่ และคู่ที่พร้อมจะมีบุตร เข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 40 คู่ และสามารถทำคะแนน Posttest ได้ถูกต้องร้อยละ 80 2.สตรีตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถทำข้อสอบ Posttest ได้ถูกต้องมากกว่า ร้อยละ 80 3.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในโครงการ มากกว่าร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1.ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 15 2.อัตราทารกพิการแต่กำเนิด เท่ากับร้อยละ 0 3.อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 80 4.อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80 5.สตรีตั้งครรภ์ทุกราย ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงร้อยละ 100 6.มารดาหลังคลอด ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด มากกว่าร้อยละ 80 มารดาหลังคลอดครรภ์เสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 10:47 น.