กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 2564-L6896-05-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 237,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนะ โสสนุย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในประเทศจีน และต่อมาเกิดการระบาดของโรค ขยายวงกว้างไปในพื้นที่ทุกทวีปทั่วโลก ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อสูงสุดในประเทศสหรัฐอเมริกา(21,113,528 ราย) รองลงมาคือประเทศอินเดีย(10,341,291 ราย) และประเทศบราซิล(7,733,746 ราย) อีกทั้งยังพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 85,501,441 ราย และมีการยืนยันผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้แล้วทั้งสิ้น 1,850,605 ราย      โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคที่มีการติดต่อจากคนสู่คน สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน    7,694 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวนทั้งสิ้น 64 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 3 มกราคม 2564) และในเดือนธันวาคม 2563 มีรายงานพบผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นคนไทย จึงได้มีการสอบสวนโรค และทำการตรวจโรคเชิงรุก ก็พบแรงงานต่างด้าวติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันก็พบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีกในหลายพื้นที่ มีแนวโน้มว่าจะมีผู้ติดเชื้อขยายวงกว้างไปในอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งนี้ การเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลนครตรัง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ  ของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลนครตรัง

ประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลนครตรังมีความรู้ในการป้องกันตนเองอย่างครอบคลุม

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 237,000.00 1 182,000.00
25 ม.ค. 64 กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 237,000.00 182,000.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานโครงการขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ 1.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย 1.4 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

- กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
(เช่น รถประชาสัมพันธ์ ออกรายการวิทยุกระจายเสียง ป้ายไวนิล เป็นต้น) - กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   2.2 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ   2.3 สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ได้
  2. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครตรังได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 10:25 น.