กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ของโรคโควิด - 19 ของ 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L6896-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม. 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 144,445.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแสงระวี วั่นสิทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ประเทศจีนประกาศว่าพบผู้ติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย เมื่อเดือนธันวาคม 2562 เป็นครั้งแรกของโลกได้รู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ถึงวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสมทั่วโลก จำนวน 84,975,277 คน เสียชีวิตถึง 1,843,313คน สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 7,694 คน พบผู้เสียชีวิต 64 คน (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 3 มกราคม 2564)แม้ว่าในรอบแรกของการระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่งแล้ว จนกระทั้งเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมานี้หลังจากมีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใน จ.สมุทรสาคร จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเกือบ 700 ราย ภายในระยะเวลา 3 วันส่วนมากเป็นแรงงานชาวเมียนมาที่ทำงานในอุตสาหกรรมประมง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อจากสมุทรสาครกระจายอยู่ในพื้นที่อย่างน้อย 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และ นครปฐม และหลังจากนี้คาดว่าจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ จากมาตรการค้นหาเชิงรุก     เมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นภายในประเทศไทย และในต่างประเทศก็ได้มีมาตรการในการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคด้วยการปิดเมืองปิดประเทศ หรือหยุดกิจการบางประเภท ส่งผลให้แรงงานชาวไทยหรือนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาจึงจำเป็นต้องมีการสำรวจ ค้นหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไปโดยมาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ       ในเขตรับผิดชอบ 11 ชุมชน เทศบาลนครตรังตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 มีกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ ทั้งสิ้น 194 คน โดยมาจากพื้นสีแดง 49 คน คิดเป็นร้อยละ 25.26 สีส้ม 58 คน คิดเป็นร้อยละ 29.90 สีเหลือง 74 คน คิดเป็นร้อยละ 38.14 และพื้นที่สีเขียว 13 คน คิดเป็น  ร้อยละ 6.70 เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ผ่านการลงสำรวจหากลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในพื้นที่ การเป็นตัวกลางการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังลูกบ้านในชุมชนและการคัดกรองประชาชนตามมาตรการของส่วนราชการ เพื่อลดอัตราการเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง จึงได้จัดทำ “โครงการ อสม.รวมพลัง เฝ้าระวังการแพร่ของโรคโควิด - 19 ของ 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2564” ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชนในชุมชน

ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองอย่างครอบคลุมในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน

มีการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็นในการติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 144,445.00 3 62,595.00
25 ม.ค. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 27,275.00 5,000.00
25 ม.ค. 64 สนับสนุนการดำเนินงานติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน 0 116,870.00 57,295.00
25 ม.ค. 64 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 300.00 300.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมาย และกิจกรรมตามโครงการ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
  5. จัดกิจกรรมตามที่ระบุในโครงการ
  6. รายงานและประเมินผลตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้อย่างถูกต้อง 2.ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
3.ประชาชนในชุมชนได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 11:08 น.