กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนวัดบ้านลุ่มร่วมใจพิชิตไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L5198-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดบ้านลุ่ม
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกมล จันแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.586,100.695place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของในชุมชน ของโรงเรียนวัดบ้านลุ่ม ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 21 คน และมีแนวโน้มที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค การระบาดของโรคเกิดได้ทั้งปีโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้น้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธ์เพิ่มประชากรของยุงเป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายก่อนจะถึงช่วงการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนยุงลายในพื้นที่ และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเพิ่มขึ้นยุงลายก็จะเพิ่มมากขึ้นตามภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และหากมีการติดเชื้อซ้ำอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต
ในการนี้ โรงเรียนวัดบ้านลุ่มจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก่อนฤดูการระบาดของโรค เพื่อรณรงค์ให้นักเรียนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และลดความเสี่ยงของนักเรียนต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 85 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจความรู้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและชุมชน

ร้อยละ 85 นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและชุมชน

0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงเรียนบ้านวัดลุ่ม

ร้อยละ 20 สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงเรียนบ้านวัดลุ่ม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 125 25,000.00 3 25,000.00
30 พ.ย. 64 กิจกรรมอบรมความรู้แก่นักเรียนความรู้ในการดำเนินการควบคุมและและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 125 17,325.00 17,325.00
1 ธ.ค. 64 การจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและชุมชน 0 1,250.00 1,250.00
1 ธ.ค. 64 รณรงค์และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 0 6,425.00 6,425.00

1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3. กิจกรรมอบรมความรู้แก่นักเรียนในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 4. การจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในโรงเรียนและชุมชน 5. กิจกรรมรณรงค์และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 7. ติดตามผลการดำเนินงาน 8. สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.นักเรียน ครูและบุคลากรมีสุขภาวะทีดีขึ้น
3. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่โรงเรียนบ้านวัดลุ่ม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 11:35 น.