กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเยาวชนจัดการขยะในชุมชน
รหัสโครงการ 64-L5284-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจะอัน หมันเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้าง จึงต้องมีการคัดแยกขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ถูกต้อง ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะมีกี่ชนิด เราสามารถจัดการกับขยะได้อย่างมีประมิทธิภาพ โดยดูว่าขยะรีไซเคิลมีชนิดใดบ้าง สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ โดยทั่วไปสามารถแยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะซึ่งเมื่อแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิลการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการให้ความรู้ให้กับเยาวชน เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชน ได้มีการเรียนรู้ เกิดความตระหนักต่อสภาพปัญหาในเรื่องขยะ เป็นแกนนำ และสามารถจัดการปัญหาขยะที่จะก่อให้เกิดในอนาคตได้ เกิดความร่วมมือกันในชุมชนเพื่อช่วยกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น เยาวชนสามารถคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ รู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และชุมชน 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อมาสู่ชุมชนที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง
  • ผลการทดสอบ ก่อน – หลัง
  • รณรงค์การจัดการขยะในสถานที่สาธารณะในชุมชน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 โครงการสร้างเยาวชนจัดการขยะในชุมชน หมู่ที่ 1-4 ตำบลควนสตอ 0 15,000.00 -
รวม 0 15,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความตระหนักในการคัดแยกขยะมูลฝอยและมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมรู้จักคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป
  2. เยาวชนมีความรู้ และมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง
  3. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปัญหาขยะมูลฝอย การแก้ไข และมีส่วนร่วมกระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ก่อนทิ้งสู่สิ่งแวดล้อม
  4. สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอย และแก้ปัญหาการจัดการขยะด้วยตนเองภายในชุมชนโดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมเป็นแกนนำในการจัดการ
  5. สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 16:18 น.