กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1520-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2021
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2021 - 30 กันยายน 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2021
งบประมาณ 26,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2021 30 ก.ย. 2021 26,850.00
รวมงบประมาณ 26,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2652 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2564 เวลา 11.00 น. พบผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 92,767,845 ราย อาการรุนแรง 110,695 ราย รักษาหายแล้ว 66,288,019 ราย เสียชีวิต 1,986,696 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 11,262 ราย พบผู้เสียชีวิต 69 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14 มกราคม 2564) จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยยืนยัน 9 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID - 19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้  สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% รุนแรง น้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10%
      ดังนั้น มาตการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่ ที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ
การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค เป็นสิ่งสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19
  1. ร้อยละ 100 ของประชาชนมีความรู้เรื่องอาการของโรคการป้องกันโรค COVID-19
0.00
2 2. เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับผู้เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง เข้ามาในพื้น การสวมหน้ากาก การมีหน้ากากอนามัยไว้ใช้เอง
  1. ร้อยละ100 ของประชาชนที่เดินมาทางมา สามารถมีหน้ากากอนามัยใช้เองและสามารถสวมหน้ากากถูกต้อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,850.00 1 26,850.00
27 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 26,850.00 26,850.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน   1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ   1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต./เทศบาล....
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน   3.1 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-1๙)
      3.2 ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)   3.3 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข   3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ   3.5 ติดตามเฝ้าระวังประชากรเคลื่อนย้ายจากต่างพื้นที่เข้าเขตรับผิดชอบโดยทีม อสม.พร้อมรายงานไปยัง รพ.สต.   3.6 สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
  2. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2021 10:17 น.