กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลูกน้อยสดใส ฉีดวัคซีนครบชุด ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4148-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอามีเน๊าะอุเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 958 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization) เป็นกระบวนการสร้างหรือเพิ่มพูนภูมิคุ้มกันโรคให้เกิดขึ้นในร่างกายที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ให้วัคซีนฟรีแก่เด็ก ๐ – ๕ ปี ใน ๑๐ โรค คือ วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ตับอักเสบบี และไข้สมองอักเสบเจอี อย่างครอบคลุม ครบถ้วนตามชั้นอายุที่กำหนด อย่างไรก็ตามการดำเนินงานยังประสบปัญหาในการติดตามให้เด็กมารับวัคซีนได้ครบถ้วนตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อถือทางด้านศาสนา ทัศนคติต่อต้านการรับวัคซีน รวมถึงอาการป่วยหลังได้รับวัคซีน
การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่กลุ่มเด็ก ๐ – ๕ ปี ที่ผ่านมา พบว่าเด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนดยังไม่ครอบคลุม ทั้งนี้ประเด็นสำคัญซึ่งอาจส่งผลต่อการมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือการเจ็บป่วยหลังได้รับวัคซีน การขาดความรู้ ตลอดจนขาดการติดตามเยี่ยมบ้านหลังการให้บริการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบการให้บริการวัคซีน โดยเฉพาะการติดตามเด็ก๐ – ๕ ปี มารับวัคซีนตามนัด เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ จึงมีความพยายามที่จะรณรงค์และส่งเสริมให้เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้ต่อไปให้บรรลุเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดให้เด็กต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 90 ซึ่งในงบปีประมาณ 2559 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุของเด็กอายุครบ 1, 2, 3 และ 5 ปี คิดเป็น ร้อยละ 90.53, 89.84, 90.06 และ 93.68 ตามลำดับจึงจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน กลวิธีตามกลยุทธ์ 4.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา และ อสม. เรื่องอันตรายของโรคติดต่อที่ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบ 4.2 ให้ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการประกาศติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด 4.3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ออกติดตามผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด ทุกสัปดาห์ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหมู่บ้านร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. แจกสมุดคู่มือเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน แก่มารดาที่มาฝากครรภ์ในโรงเรียนพ่อแม่เพื่อให้บิดามารดาของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดต่อไป 3. เพิ่มความหลากหลายของบริการสุขภาพในคลินิกเด็กดี โดยการผสมผสานกับงานด้านอื่นๆเช่น การชั่งน้ำหนัก เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ การตรวจพัฒนาการ การตรวจฟัน /ทาฟลูออไรด์วานิช แจกแปรงสีฟัน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความประทับใจ และอยากพาบุตรมารับวัคซีน ในครั้งต่อไป

กลยุทธ์ที่ 3การสร้างแรงจูงใจในการรับวัคซีน กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. จัดนิทรรศการรณรงค์ให้เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์พื้นฐานโดยมอบรางวัล(ชุดกระตุ้นพัฒนาการเด็ก) เมื่อเด็กมารับวัคซีนครบคือ
- อายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนบีซีจี,ตับอักเสบ เข็มที่1-3,ดีพีที-โอพีวีเข็มที่1-4 ,หัดและJEเข็มที่ 1 - อายุ 5 ปี ได้รับวัคซีนบีซีจี,ตับอักเสบ เข็มที่1-3,ดีพีที-โอพีวีเข็มที่1-5 ,หัดและJEเข็มที่ 2 กลยุทธ์ที่ 4การพัฒนาระบบบริการ


กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในคลินิกเด็กดี ทุก 3 เดือนโดยนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ปกครอง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในการมารับวัคซีนตามนัด 2. ปรับปรุงระบบการให้สุขศึกษา โดยผู้ที่ให้บริการ ต้องให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคลในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ วัคซีนที่ฉีดใช้ป้องกันโรคอะไร จะต้องฉีดกี่เข็ม เข็มนี้เป็นเข็มที่เท่าไร และที่สำคัญคืออาการข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดตลอดจนคำแนะนำในการบรรเทาอาการดังกล่าว เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เตรียมรับมือกับอาการหลังการฉีดวัคซีนของลูกได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุม
    ของวัคซีนเด็ก 0 – 5 ปี
  2. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 1,2,3 และ 5 ปี ไม่ต่ำกว่า 90%
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2560 10:39 น.