กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพแม่และลูกปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4148-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสนี แซกระดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 208 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์ มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย แม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลาย โรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหาที่พบมากในประเทศไทย การรักษาฟันผุในเด็กทำได้ยาก เนื่องจากเด็กมักจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา ดังนั้นการป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยควรดำเนินการเริ่มที่ผู้ดูแลเด็กจนถึงเด็กเข้าเรียนในโรงเรียน และสามารถแปรงฟันด้วยตังเองจนสะอาด แต่ด้วยสภาพสังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบัน การให้ความสำคัญ และการดูแลฟันลูกในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนใต้ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก และทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่สุขภาพช่องปากที่จะเกิดปัญหา แต่ยังส่งผลกระทบต่อเด็กในหลายด้าน และมีการวิจัยว่าโรคฟันผุมีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ควรแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่ม จากข้อมูลการสำรวจโรคผุในเด็กอายุ 3 ขวบของจังหวัดยะลา 3 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2557 พบว่าความชุกของโรคฟันผุในฟันน้ำนมคิดเป็นร้อยละ 71.22 , 70.03 และ 70.01 ตามลำดับและข้อมูลจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปี 2559 ของตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในเด็กอายุ 3 ขวบ จำนวน195คน พบว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ จำนวน67 คน คิดเป็นร้อยละ 34..01เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 65..99หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจฟันทั้งหมดจำนวน 170 คน พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากจำนวน 148 คน มีหินน้ำลายจำนวน 138 คนคิดเป็นร้อยละ 93.24 ฟันผุต้องอุดจำนวน 120 คน คิดเป็น ร้อยละ 81.08 ฟันผุต้องถอนจำนวน 100 คนคิดเป็นร้อยละ67.56 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ส่งผลต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคต ดังนั้น การสร้างทัศนคติ และทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดี จะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ได้เห็นถึงปัญหา และความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม และเฝ้าระวังทันตแม่และลูกปี2560 เพื่อดูแลตั้งแต่สุขภาพช่องปากมารดา จนมารดาได้ให้ความสำคัญ และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลสุขภาพช่องปากของลูกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 2. สำรวจข้อมูลทางทันตสุขภาพในเขตรับผิดชอบ 3. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ 4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ดำเนินงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1 การสร้างความตระหนักในการดูแลฟันลูก กลุ่มหญิงมีตั้งครรภ์ - กิจกรรม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในหญิงมีครรภ์
ให้ทันตสุขศึกษา เรื่องโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ อาหาร การดูแลสุขภาพช่องปากและการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์
- กิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากและทันตสุขศึกษาหญิงมีครรภ์รายใหม่ หญิงมีครรภ์ที่มารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากแล้วต้องได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อการป้องกันปัญหาโรคฟันผุ โรคปริทันต์ และเหงือกอักเสบ หากพบพยาธิสภาพให้พิจารณาถึงความจำเป็นต้องได้รับการรักษาตามประเภทของการบริการต่อไป เช่น การอุดฟัน , ถอนฟัน , ขูดหินปูน ฯลฯ และ จะมีการติดสติ๊กเกอร์ที่สันปกด้านนอกของสมุดคูมือแม่และเด็ก แยกตามสีเป็น 3 ความหมายของสัญลักษณ์ สีแดง หมายถึง ปัญหาสุขภาพช่องปากให้นัดรักษาในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน สีเหลือง หมายถึง กำลังรักษาและเฝ้าระวัง สีเขียว หมายถึง ได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว หรือไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปากเลย(Complete case) - กิจกรรมการฝึกแปรงฟันในหญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์ที่มารับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก -กิจกรรมรณรงค์สาธิตหญิงมีครรภ์รายใหม่พร้อมแจกแปรงสีฟันและยาสีฟันพร้อมสอน/ฝึกแปรงฟันที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอทุกวันพุธของสัปดาห์ - กิจกรรมบริการทันตกรรมตามความจำเป็นหญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก หญิงมีครรภ์ที่ตรวจพบโรคฟันผุโรคเหงือกอักเสบและได้รับริการทันตกรรมตามสภาพปัญหาที่พบ
- กิจกรรมบริการทันตกรรม Completecaseหญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมในซี่ฟันที่มีปัญหาครบหมดทุกซี่ เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย ฯลฯ โดยทันตบุคลากร - กิจกรรมการเยี่ยมหลังคลอดและได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิด หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิด โดยทันตบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี - กิจกรรมการทาฟลูออไรด์วานิชเด็กของเด็กอายุ9 –36 เดือน เด็กอายุ 9- 36 เดือนที่ผู้ปกครองพามารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิก WCC ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช (ระยะห่างในการทาทุก 3 เดือน) โดยทันตบุคลากร - กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็กอายุ9 -36 เดือน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 9 –36เดือน สาธิตการแปรงฟันให้ลูกในท่าต่างๆ อาหารที่มีประโยชน์ การแปรงฟันก่อนนอนให้ลูกและการทาฟลูออไรด์ในเด็กดีอย่างไร - กิจกรรมการฝึกแปรงฟันให้เด็กผู้ปกครองเด็กอายุ 9,18 เดือน ผู้ปกครองที่พาเด็กอายุ 9,18 เดือน มารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิก WCC
-กิจกรรมรณรงค์สาธิตผู้ปกครองที่พาเด็กอายุ 9,18 เดือน พร้อมแจกแปรงสีฟันและยาสีฟันพร้อมฝึกแปรงฟันให้เด็กในรายที่มีฟันขึ้นทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ -กิจกรรมรณรงค์สาธิตผู้ปกครองเด็กกลุ่มอายุ 2 เดือน พร้อมแจกถุงนิ้วเช็ดช่องปากพร้อมได้รับการสอนเช็ดทำความสะอาดเหงือก - กิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 18 เดือน เพื่อประเมินสภาวะโรคฟันผุ เด็กอายุ 18 เดือน ที่ผู้ปกครองพามารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิก WCC ที่ ปราศจากฟันผุ (ฟันทุกซี่ในช่องปากไม่มีประสบการณ์เป็นโรคฟันผุ ทั้ง ผุ ถอน และอุด)
- กิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 1 ปี, 2 ปี,3 ปี ทุกๆเดือน เพื่อประเมินสภาวะโรคฟันผุ 2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลฟันลูก • จัดอบรม ชี้แจง อสม. การส่งเสริมทันตสุขภาพหญิงมีครรภ์สู่ลูก • เจ้าหน้าทีร่วมกับ อสม. ออกเยี่ยมบ้านเพื่อกระตุ้นติดตามให้ผู้ดูแลทำความสะอาดช่องปากลูก • ให้ผู้นำศาสนาเผยแพร่ บทบัญญัติ ศาสนาอิสลามในการส่งเสริมการทำความสะอาดช่องปาก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์ และให้หญิงมีครรภ์ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง และบุตรในอนาคต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2560 10:58 น.