กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L5267-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2564 - 4 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 4 มีนาคม 2564
งบประมาณ 67,707.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสืบศักดิ์ กระดี่ ปลัด อบต.ปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.ป่าขาด
พี่เลี้ยงโครงการ นายฮาสัน หมัดศิริ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า ณ วันที่ 18 มกราคม 2564 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 12,423 ราย เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 10,134 ราย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้มีจำนวน 369 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 275 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายังมีการแพร่กระจายเชื้ออยู่ในชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีรายงานผู้ติดเชื้อจำนวนมากซึ่งอาจมีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ จึงขอให้พื้นที่เฝ้าระวังการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และรักษาความเข้มข้นของมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด อีกทั้งขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เช่น เว้นระยะห่างระหว่างกัน สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และ ล้างมือบ่อย ๆ นอกจากนี้หากมีอาการไข้ไอ เจ็บคอ หรือจมูกไม่รับกลิ่น ลิ้นไม่รับรสให้รีบพบแพทย์และเปิดเผยประวัติการเดินทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่มาข้อมูล: (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 18มกราคม 2564 https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no381-180164.pdf)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ วัด สถานศึกษา หน่วยงานราชการ ร้านค้าชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาดรับผิดชอบดูแลงานเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนะการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชนในพื้นที่ของตำบลป่าขาด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ป่าขาด 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ 3.2 ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.3 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ตรวจคัดกรอง อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3.4 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3.5 ดำเนินงานบูรณาการร่วมกับรพ.สต.ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ อสม. และประชาชน 3.6 จัดทีม/แบ่งทีมทำงาน ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าขาดทุกครัวเรือน 3.7 ติดตาม/ทราบสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3.8 สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 13:23 น.