กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บาโร๊ะร่วมใจ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รหัสโครงการ 60-L4148-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,822.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปวริศาวงศ์พัทธวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 328 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากพฤติกรรมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวโยงความเชื่อและความเคยชินซึ่งบางอย่างขัดกับการพัฒนางานสาธารณสุขโดยเฉพาะงานอนามัยแม่และเด็กส่งผลให้เกิดปัญหาการรับบริการฝากครรภ์ล่าช้าและไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตามมา การแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชนผู้นำศาสนาผู้นำชุมชนตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแกนนำสตรีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีผดุงครรภ์โบราณอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ปฏิบัติงานในระดับศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญร่วมกันว่าปัญหาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามตัวชี้วัดจากสภาพปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของตำบลบาโร๊ะพบว่าส่วนที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ71.25ฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ64.49ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ34.61โดยเฉพาะปัญหาภาวะซีดที่เป็นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายมีระดับฮีโมโกลบิลในเลือดต่ำกว่าปกติซึ่งสาเหตุอาจมาจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมลโกบิลได้แก่เหล็กวิตามินบี12บี6อีซีทองแดงและ โฟเลทซึ่งสารอาหารเหล่านี้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้และผลของภาวะโลหิตจางต่อหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอดอาจทำให้เกิดภาวะตกเลือดได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะได้เห็นความสำคัญและของการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ปัญหาและส่งเสริมกิจกรรมงานอนามัยแม่และเด็กจึงได้จัดทำโครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเพื่อส่งผลให้งานอนามัยแม่และเด็กบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน กลวิธีตามกลยุทธ์ 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโร๊ะ 1.2 ติดตามค้นหาและกระตุ้นหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์โดยอสม. และสมาชิกชมรมพัฒนาการดีเริ่มที่นมแม่ 1.3 ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาตามนัดโดยอสม.ทุกสัปดาห์ กลยุทธ์ที 2 การเฝ้าระวังและดูแลหญิงตั้งครรภ์ กลวิธีตามกลยุทธ์ 2.1 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหมู่บ้านร่วมกับ อสม.ประจำหมู่บ้านในการให้สุขศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ตามนัดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตามนัด 2.3 ติดตามเยี่ยมหลังคลอดโดยเจ้าหน้าที่และ อสม. 2.4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปฎิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในการฝากครรภ์ กลวิธีตามกลยุทธ์
3.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์หญิงตั้งครรภ์เจาะเลือดครั้งที่ 2 ไม่มีภาวะซีด โดยมอบสื่อประชาสัมพันธ์ แก่กลุ่มเป้าหมายคือ - หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ - หญิงตั้งครรภ์ที่ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอดไม่มีภาวะซีด ความเข้มข้นของเลือดไม่ต่ำกว่า 33 % กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริการ กลวิธีตามกลยุทธ์ 4.1 จัดตั้งมุมนมแม่ในสถานบริการ เพื่อให้บริการแก่หญิงหลังคลอดที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารับบริการทีรพ.สต. เพื่อสะดวกในการให้นมบุตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 85
  2. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 65
  3. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2560 11:03 น.