กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ร้านชำคุณภาพ รพ.สต.บ้านโคกยา
รหัสโครงการ 2564-L3310-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (12,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มีอำนาจ หน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 20 ที่สำคัญ 7 ประการคือ 1) รับเรื่องราวร้อง ทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอ ต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2) ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใดๆ ตามที่ เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค 3) สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ การคุ้มครองของผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษา แก่ผู้บริโภคในทุกระดับการศึกษาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับ จากสินค้าหรือบริการ 5) ดำเนินการเผยแพร่วิชาการ และให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างนิสัยในการบริโภคที่เป็นการ ส่งเสริมพลานามัย ประหยัดและใช้ทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด 6) ประสานกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ และ 7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย ก่อให้เกิดพันธกิจหลัก 4 ประการคือ 1) บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อผู้บริโภค 2) พัฒนากฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อเหตุการณ์ 3) สร้าง เครือข่ายผู้บริโภคและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และ 4) เผยแพร่ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ผู้บริโภครู้จักปกป้องและรักษาสิทธิของตนเอง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ และรู้จักใช้สิทธิของตนเองในฐานะของผู้บริโภค และมีหน้าที่หลักในการเป็นผู้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิทธิของ ผู้บริโภค อีกทั้งรับเรื่องเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการ กระทำของผู้ประกอบธุรกิจ มีหน้าที่ในการติดตาม สอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใด ๆ ตามที่ เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการสนับสนุนหรือทำการศึกษา และวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภคในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือ บทที่บทนำ . 2 บริการ และดำเนินการเผยแพร่วิชาการ ความรู้ และการศึกษาแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างนิสัยในการบริโภคที่เป็น การส่งเสริมพลานามัย ประหยัด และใช้ทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เป้าหมายการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาเป็นไปเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และ รู้จักเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย ได้มาตรฐานในขณะเดียวกันก็มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักปกป้องสิทธิ์ของตนเอง ครอบครัวและชุมชนต่อไป ภายใต้การดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ

100% ของผู้ประกอบการร้านชำได้รับการอบรม

0.00
2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ถูกต้อง

100%  ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการซื้อยาและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ได้คุณภาพมาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
28 ม.ค. 64 1. จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยผู้ประกอบการร้านชำ อสม. ผู้นำ ภาคีเครือข่าย 2. ประเมินตรวจร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้านชำคุณภาพ 0 0.00 -

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.ผู้นำและภาคีเครือข่าย
2.จัดอบรมให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา และเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินการร้านชำคุณภาพ
3.ติดตามผลการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ 4.สรุปและประเมินผลโครงการ งบประมาณ -ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมการอบรม 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน  2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บ. 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าวิทยากรชม. ละ 300 บาท 6 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าวัสดุสำนักงาน  5,200 บาท
1.กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆละ 125 บาท เป็นเงิน 250 บาท 2.ไวนิลร้านชำคุณภาพ จำนวน 12 แผ่นๆละ  400 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 3.ปากกาน้ำเงินเล่มละ 5 บาท จำนวน 30 ด้าม เป็นเงิน 150 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,000 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกบริโภคอุปโภคสินค้าที่มีคุณภาพ 2.ร้านชำผ่านเกณฑ์ประเมินร้านชำคุณภาพ 3.สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการดูแลเฝ้าระวังให้ประชาชนเลือกบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 15:08 น.