กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรไอนีดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.2555 - 2559พบว่า โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ยังคงมีการระบาดในจังหวัดยะลา ซึ่งติดอันดับจังหวัดที่มีการระบาดในระดับต้นๆของประเทศไทย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่อำเภอกรงปินังในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 104 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 376.67 ต่อแสนประชากร เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลสะเอะ จำนวน 38 รายอัตราป่วยเท่ากับ 137.63 ต่อแสนประชากรและสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่อำเภอกรงปินัง ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 331 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 1,198.8 ต่อแสนประชากร เป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลสะเอะ จำนวน 105 รายอัตราป่วยเท่ากับ 380.29 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มการระบาดของโรคที่สูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรคซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียนชุมชนสถานที่ราชการต่างๆการจัดหาสารฆ่าลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
ดังนั้น กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกรงปินังจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ประจำปี 2560 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือของโรคไข้เลือดออกโรค และไข้มาลาเรียก่อนฤดูกาลระบาด เพื่อลดอัตราป่วย และการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและลดความเสี่ยงของประชาชนในพื้นที่ต่อการเป็นโรคติดต่อ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ตำบลสะเอะ

ลดอัตรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

2 2.เพื่อค้นหาผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรียเพิ่มเติม

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา

3 3.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ และสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ และสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1. ชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    3. เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ร่วมกับอสม.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบแต่ละหมู่ ออกพื้นที่ติดป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนนอนกางมุ้ง และการกำจัด ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลาย และยุงก้นปล่อง ในหมู่บ้านและตามร้านค้า
    4. ให้สุขศึกษา ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรียในโรงเรียนและมัสยิดทุกวันศุกร์
    5. ดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่ ม.3 และม.4 ต.สะเอะ ปีละ 2 ครั้ง และกรณีที่มีผู้ป่วย
    6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทีมระบาดร่วมกับทีมอสม. เกี่ยวกับการเฝ้าระวังเหตุการณ์ สอบสวน ควบคุมโรค ในชุมชน
    7. ติดตามประเมินผลและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี 6.2. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้โรคไข้มาลาเรียลงร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา 6.3. อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียได้และมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2560 14:28 น.