กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังหนูน้อยและชุมชนคนบาละ ห่างไกลโรค NCD
รหัสโครงการ 64-L4117-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 24,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูกายนาห์ ดูละสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.พ. 2564 2 ก.พ. 2564 24,580.00
รวมงบประมาณ 24,580.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่รุมเร้า และคร่าชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ดูได้จากอัตราการเสียชีวิตในโรคดังกล่าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 134 ราย โรคความดันโลหิตสูง 347 ราย ซึ่งพบว่าทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีอัตราป่วยค่อนข้างสูง สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พบมากในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันตังแต่ปี พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564พบในกลุ่มอายุต่ำสุด อายุ 22 ปี ทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละได้วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ในทุกกลุ่มอายุ การค้นหาผู้ป่วยและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มุ่งเน้นการปฏิบัติตัว การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ญาติผู้ป่วย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อและแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน

 

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพด้าน 3 อ.

 

0.00
3 เพื่อกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้มีความรู้ในการปฏิบัติตัว

 

0.00
4 เพื่อสุ่มบ้านพร้อมลงให้ข้อมูลการบริโภคเครื่องปรุงในครัวเรือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,580.00 1 24,580.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเฝ้าระวังน้ำหนักเด็ก 0 24,580.00 24,580.00
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. กิจกรรมเฝ้าระวังนำหนักเด็กและชั่งน้ำหนัก/ส่วนสูง เด็กนักเรียนตรวจร่างกายเด็กนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยใช้แบบฟอร์มคัดกรองสุขภาพนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อหานักเรียนที่มีภาวะโรคอ้วน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
    3.เจาะน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อหาระดับน้ำตาลในเด็กกลุ่มเสี่ยง
  3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCD
  4. อบรมทฤษฏีโรค NCD การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิธี 3 อ
    6.ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายสำหรับเด็กอ้วน
  5. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อลดลง และไม่เกิดโรคในกลุ่มอายุที่น้อยกว่า 35 ปีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานสามารถควบคุมเพื่อไม่ให้ได้รับการวินิจฉัยโรคไม่ติดต่อ และกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 11:50 น.