กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลเกตรี
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 67,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมีณา พรหมาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 พ.ย. 2563 23 พ.ย. 2563 37,440.00
2 7 ธ.ค. 2563 7 ธ.ค. 2563 5,800.00
3 9 มี.ค. 2564 9 มี.ค. 2564 14,400.00
4 15 ก.พ. 2564 15 ก.พ. 2564 3,150.00
5 17 ก.พ. 2564 17 ก.พ. 2564 2,950.00
รวมงบประมาณ 63,740.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (63,740.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (67,330.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 – 14ปีรองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย จากข้อมูลการกระจายของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ สำหรับตำบลเกตรี พบว่า มีผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายโรคไข้เลือดออก จำนวน 75 ราย และมีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย การพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนผู้ป่วย ณ ช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 จะมีรายงานผู้ป่วยน้อยกว่าปี 2562 ก็ตาม แต่จากข้อมูลพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักและฝนตกสะสมหลายพื้นที่ ซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกตรี จึงตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคจากยุงลายเป็นพาหะขึ้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุรวมถึงสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรค และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคจากยุงลายเป็นพาหะ

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุ

90.00 100.00
2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรค

90.00 100.00
3 เพื่อการกำจัดยุงพาหะนำโรคให้ทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประชาชนเกิดการตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ

90.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 67,330.00 2 14,525.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์ จำนวน 2 ครั้ง 0 13,380.00 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมควบคุมโรค 0 53,950.00 14,525.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ ในทุกกลุ่มอายุ
  2. สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรค
  3. เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคที่มาจากยุงลายเป็นพาหะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 14:26 น.