กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน (เต้นแอโรบิคด๊าน)
รหัสโครงการ 64 - L1529 - 2 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ุชุมชนบ้านหินงอม
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันทรา เจริญฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 7 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักในเรื่อง การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็น เป็นสุข ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ช่วยเหบือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกาย คือ ให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังจะเห็นได้จากการมีชมรม, กลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น แอโรบิค โยคะ ฟุตบอล เซปัคตะกร้อ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียกว่า เต้นแอโรบิค เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการสงเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชน เพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนได้รับการเสริมสร้างสุขภาวะร่างกายของประชาชน โดยการออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 15,300.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค 30 15,300.00 -
  1. แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน (เต้นแอโรบิค)
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ
  3. ดำเนินการตามโครงการ สัปดาห์ละ 4 วัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้รับการเสริมสร้างสุขภาวะร่างกายของประชาชน
  2. ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
  3. ประชาชนมีสุภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 15:25 น.