กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนน่าอยู่ห่างไกลไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5248-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 118,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 68,033 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 102.61 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 49 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.07 (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563) จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,189 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84.39 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 1 ราย (อำเภอหาดใหญ่) คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563) ในส่วนของอำเภอสะเดาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 190 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 143.68 ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563) ในเขตพื้นรับผิดชอบของรพ.สต.หัวถนน มีผู้ป่วยไข้เลือดออก/สงสัยไข้เลือดออก จำนวน 20 คน คิดเป็นอัตราป่วย 719.68 ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 2,779 คน) จากการประเมินติดตามระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563) พบเป็นพื้นที่เสี่ยงสีแดง หรือเสียงสูง เนื่องจากมีค่าดัชนี House Index (HI) หรือค่าเฉลี่ยจำนวนบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 13.1 ซึ่งเกินค่าดัชนี House Index (HI) มาตรฐาน ≥ 10 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) และค่าดัชนี Coutainer Index (CI) หรือ ค่าเฉลี่ยของภาชนะที่พบลูกน้ำในสถานที่ราชากร วัดหรือมัสยิด และอื่นๆ ร้อยละ 7.94 เกินค่าดัชนี Coutainer Index (CI) มาตรฐาน CI › 0 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้พื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก พื้นที่อำสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงหรือพื้นที่สีแดงกระจายตัวเป็นบางช่วง ทำให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกยังคงมีอัตราการป่วยที่ลอยตัว ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง     โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และด้านสังคม เกิดจากการไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและในบ้าน ขาดความรู้ในการป้องกันตัวเองจากยุงลายที่เป็นพาหะของโรค ขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกจากทุกภาคส่วน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค
    ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการระบาดเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่ ห่างไกลไข้เลือดออก เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อมุ่งให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในชุมชน เกิดการประสานงานกับทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่ชุมชนอันเข้มแข็งในด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1๕ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาสาเหตุในการแก้ปัญหา
  2. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับแนวทางการดำเนินงาน
  4. ประชาสัมพันธ์วัน Big Cleaning Day ร่วมกับ อสม. แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบและเตรียมพื้นที่
  5. ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

- ในโรงเรียนบ้านหัวถนน และโรงเรียนบ้านยางเกาะ รวม 2 ครั้ง (ร่วมกับแกนนำนักเรียนและคณะครู) - ในชุมชนเขตพื้นที่เสี่ยงหมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 รวม 2 ครั้ง (ร่วมกับประชาชนทั่วไปและผู้นำชุมชน) 6. ร่วมกันสำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน , ในโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน และ ศาสนสถาน (วัด บาลาย ปอเนาะ) ทุกวันศุกร์ โดย อสม. และแกนนำนักเรียน 7. พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายก่อนเปิดเทอม ทั้ง 2 โรงเรียน รวมทั้งศาสนสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแนวทางควบคุมโรคติดต่อ 8. กรณีพบผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบดำเนินการสอบสวนโรค และควบคุมโรคทันทีทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมีตามมาตรการ 3-1-1 พร้อมทั้งเขียนรายงานสอบสวนโรคเฉพาะราย 9. ติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์การระบาดอย่างต่อเนื่อง
10. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 15:48 น.