กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันโรคติดต่อของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5225-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนาตยาจันทรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถินตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากกว่าร้อยละ 60 เป็นเด็กก่อนวัยเรียน ต้องถูกฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่ายในเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ด้วยเหตุผลนี้ทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถินจึงเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดขึ้นภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมพัฒนาให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและควบคุมที่อาจเกิดขึ้นกับบุตรหลานในความรับผิดชอบของตนไม่ให้แพร่กระจายและลดการป่วยของเด็กนักเรียนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน

ผู้ปกครองร้อยละ 85 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน

2 เพื่อให้นักเรียนสามารถล้างมือด้วยเจลล้างมือก่อนเข้าศูนย์ฯและให้เด็กล้างมือด้วยสบู่เหลวก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

นักเรียนร้อยละ85 สามารถล้างมือด้วยเจลล้างมือก่อนเข้าศูนย์ฯและให้เด็กล้างมือด้วยสบู่เหลวก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

3 เพื่อให้ครูสามารถทำความสะอาดศูนย์และของเล่นเด็กสัปดาห์ละ 1 วัน

ครูร้อยละ 85 สามารถทำความสะอาดศูนย์และของเล่นเด็กสัปดาห์ละ 1 วัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน
  2. เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
  3. เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจึงดำเนินการจัดกิจกรรมดังนี้
    • อบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน
    • กำหนดมาตรการป้องกันโรค โดยการให้เด็กล้างมือด้วยเจลล้างมือก่อนเข้าศูนย์ฯ และให้เด็กล้างมือด้วยสบู่เหลวก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • ทำความสะอาดศูนย์และของเล่นเด็ก สัปดาห์ละ 1 วัน (Cleanning Day)
  4. สรุปประเมินผลกิจกรรมรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่อาจจะเกิดขึ้นในศูนย์อบรมก่อนเกณฑ์วัดหัวถิน
  2. เด็กนักเรียนสามารถล้างมือด้วยเจลล้างมือก่อนเข้าศูนย์ฯและให้เด็กล้างมือด้วยสบู่เหลวก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  3. ครูสามารถทำความสะอาดศูนย์และของเล่นเด็ก สัปดาห์ละ 1 วัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2560 10:10 น.