กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสุขภาพจากโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5212-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแม่ทอม
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2565
งบประมาณ 15,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชฎาพร ศรีธรรมการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.1,100.456place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 31 ธ.ค. 2564 15,720.00
รวมงบประมาณ 15,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2278 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ โรคชิคุนกุนยา (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย) โรคไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากยุงเป็นพาหะทั้งสิ้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกและ โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน เนื่่องจากช่วงฤดูฝน น้ำฝนสามารถขังอยู่ในภาชนะต่าง ๆ ได้ เพียงพอที่จะทำให้ยุงลายสามารถวางไข่และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ได้ ทำให้มีประชากรยุงลายเพิ่มมากขึ้น แหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย อาทิเช่น ขยะ ถุงพลาสติก กะลา ยาง รถยนต์ ฯลฯ และการเจริญของบ้านเมือง การคมนาคม ทำให้ผู้ป่วยไปรับเชื้อโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยามา จากพื้นที่อื่่นได้ โรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันเวลา หรือรับการรักษาที่ไม่ถูกต้องและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม

      ประกอบกับข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอบางกล่ำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จำนวน 45 ราย ตำบลแม่ทอม พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย แยกเป็นหมู่ที่ 3 บ้านหัวนอนวัด พบผู้ป่วย 2 ราย และหมู่ที่ 6 บ้านนารังนกใต้ พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มการระบาดโรคดังกล่าวยังเป็นปัญหาที่สำคัญ อีกทั้งการระบาดของโรคชิคุนกุนย่า ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีการเกิดโรคนี้ขึ้นแล้วอาจจะมีการระบาดออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นการดำเนินการยับยั้้งการระบาดของโรค การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ก็จะทำให้การระบาดของโรคดังกล่าวลดน้อยลงหรือยับยั้งการเกิดโรคดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดไปในวงกว้าง ก็จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

40.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4556 15,720.00 2 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาด 2,278 13,920.00 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมการลดการระบาดของโรคและอัตราการป่วย 2,278 1,800.00 0.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ

  2. ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ

  2.1 การมอบสเปร์ยชนิดกระป๋องสำหรับกำจัดยุงภายในบ้าน เบื้องต้นทันทีที่รับแจ้งว่ามีผู้ป่วย

  2.2 การพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและรอบๆบ้านในรัศมี 100 เมตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกันเจ็ดวัน

  2.3 การมอบโลชั่นกันยุงให้แก่ผู้สัมผัสโรคซึ่งเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยและเพื่อนบ้านของผู้ป่วยในรัสมี 100 เมตร พร้อมทั้งให้สุขศึกษาเน้นย้ำการตัดวงจรการติดต่อและการแพร่กระจายของโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดโรคในบริเวณที่มีการระบาดของโรคให้กับประชาชนได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

2.ลดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะได้

3.ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพในระหว่างและหลังสถานการณ์ การเกิดโรคระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 09:50 น.