กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รพ.สต.วังไทรร่วมใจ พิชิตไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L5198-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังไทร
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตนาภรณ์ เต็มรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.586,100.695place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออก (dengue fever) หรือโรคติดเชื้อเดงกี เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก เป็นโรคระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่งในแถบเขตร้อนชื้น เริ่มรู้จักครั้งแรกเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ.2497 ได้พบการระบาดครั้งแรกของโรคไข้เลือดออกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนับว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ ต่อมาพบระบาดในประเทศไทยในปี พ.ศ.2501 และหลังจากนั้นได้มีการระบาดไปยังประเทศต่างๆที่อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ในแต่ละปีจะพบผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกีจำนวน 50-100 ล้านราย และเสียชีวิตประมาณ 22,000 ราย โรคติดเชื้อเดงกีเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในประเทศแถบภูมิภาคร้อนชื้น (tropical/sub-tropical region) ได้แก่ ประเทศในแถบภูมิภาคอเมริกากลางและใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก โดยในปี พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วยติดเชื้อเดงกีทั้ง 3 ภูมิภาค รวมกันมากกว่า 1.2 ล้านราย และปี พ.ศ. 2556 พบผู้ป่วยมากกว่า 3 ล้านราย ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกทุกปี และยังคงมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้น และยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือด สะสมรวม 11,938 ราย อัตราป่วย 18.01 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 8 ราย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 887 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย ในจังหวัดยะลา ส่วนจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา 333 ราย รองลงมา คือ นราธิวาส 181 ราย, ปัตตานี 151 ราย, ยะลา 105 ราย, ตรัง 57 ราย, พัทลุง 51 ราย และสตูล 9 ราย
อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา จำแนกรายอำเภอ ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ถึง 22 มิถุนายน 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) พบว่าอำเภอนาทวีพบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดสงขลา อัตราป่วย 67.94 ต่อประชากรแสนคน (54 ราย) รองจากคลองหอยโข่ง อัตราป่วย 75.57 ต่อประชากรแสนคน (23 ราย)) และสะบ้าย้อย อัตราป่วย 78.36 ต่อประชากรแสนคน (54 ราย) ตามลำดับ โดยตำบลทับช้างเป็นอันดับ 1 ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุดในอำเภอนาทวี อัตราป่วย 393.49 ต่อประชากรแสนคน (29 ราย)
โรคไข้เลือดออกนั้นเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เล็งเห็นถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยหากมีหน่วยงานในพื้นที่และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในพื้นที่มาร่วมกันรณรงค์ป้องกันควบคุมโรค ให้ความรู้ เสริมสร้างความตะหนักแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การดำเนินงานณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น กลไกสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ คือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อตัดวงจรของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ โดยใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้ 1.เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จากการลงสำรวจปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อในเขตตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี คือ ลักษณะของชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น การจัดเก็บและการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำในชุมชน ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทางโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังไทรร่วมกับทีมอาสาสมัครได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดตั้งโครงการตำบลทับช้างร่วมใจ พิชิตไข้เลือดออก ให้ความรู้และปรับทัศนคติในกลุ่มประชากรตำบลทับช้าง และได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทับช้าง สนับสนุนให้ชุมชนมีการรณรงค์ป้องกัน กำจัดลูกน้ำยุงลาย พิชิตโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถควบคุมการเกิดโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก การควบคุมพาหะนำโรค และวิธีการป้องกันตนเองจากยุง

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก การควบคุมพาหะนำโรค และวิธีการป้องกันตนเองจากยุง

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนทัศนคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นตาม normalized gain

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10 15,110.00 6 15,110.00
4 ก.พ. 64 รณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการตำบลทับช้างร่วมใจ พิชิตไข้เลือดออก 10 1,220.00 1,220.00
4 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่อสม.ทุกหมู่บ้านที่อบต.ทับช้าง 0 2,120.00 2,120.00
4 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่ประชาชน ตำบลทับช้าง 0 4,200.00 4,200.00
4 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่นักเรียน 0 670.00 670.00
4 ก.พ. 64 เสริมสร้างแรงจูงใจและทัศนคติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 600.00 600.00
4 ก.พ. 64 กิจกรรมประกวดบ้าน “ บ้านสวย น่ามอง ปลอดลูกน้ำยุงลาย” 0 6,300.00 6,300.00
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ
  2. จัดทำโครงการ/อนุมัติ
  3. จัดการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ ในกลุ่มประชาชนตำบลทับช้าง
  4. ดำเนินโครงการ big cleaning day ทุกวันศุกร์ เดือนละ2-4ครั้ง เป็นระยะเวลา ุ6 เดือน
  5. ดำเนินโครงการจัดอบรมให้ความรู้และปรับทัศนคติ ในกลุ่มประชาชนตำบลทับช้าง จำนวน 2 ครั้ง
  6. จัดประกวด บ้านสวย สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตลอดระยะเวลา 6 เดือน
  7. ติดตามและประเมินผล CI HI เดือนละ 1-2ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อน 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดยุงและลูกน้ำยุงลาย 3.กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีขึ้นในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมในการกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย และป้องกันตนเองจากยุง รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนในครอบครัวและคนในชุนชนได้ 4.กลุ่มเป้าหมาย เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในตำบลทับช้าง จนทำให้อุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง 5.ทางชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลทับช้างสามารถนำโครงการนี้ไปสานต่อให้เกิดการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนในชุมชน รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 10:53 น.