กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมุ่ที่ 3,4,6,7และ14 ตำบลคลองเฉลิม
รหัสโครงการ 2564-L3306-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มกราคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 31,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหยาด นุ่มอยู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคสำคัญที่คุกคามต่อสุขภาพของวัยกลางคนและวัยสูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด  ทั้งยังเป็นโรคที่สัมพันธ์กับวัยที่เพิ่มมาก และการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน รสหวานจัด และรสเค็ม การขาดการจัดการกับความเครียด เป็นต้น หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จะมีโอกาสเกิดเส้นเลือดฝอยในสมองแตก ไตวาย และที่สำคัญคือเกิดโรคเรื้อรังซ้ำซ้อน ได้แก่ อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด และหากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดการคั่งของกรดในเลือดสูง หลอดเลือดแดงแข็ง ความพิการต่อจอประสาทตา โรคไต และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น การดูแลตนเองขณะที่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการดำเนินของโรคที่รุนแรงมากขึ้นและสามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ต่อไป  ดังนั้นการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการมีความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจากการปฏิบัติตัวของตนเอง จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกิดพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่เหมาะสม สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ในปี ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๓๙๘ คน  คิดเป็นอัตราป่วย ๖,๗๔๔.๖๒ ต่อแสนประชากร ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีผู้ป่วย ๑๘๒ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๓,๐๘๔.๒๒ ต่อแสนประชากร ฉะนั้น การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจหาน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง อสม.ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ดูแลสุขภาพของตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้มากกว่าร้อยละ ๙๕

0.00
2 ๒ ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกคน

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 ๓ กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเฝ้าระวังได้ตาม เป้าหมาย

ลดอัตราการเกิดโรค การเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1800 31,600.00 2 31,600.00
1 พ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 อบรมให้ความรู้ 1,800 21,600.00 21,600.00
1 พ.ย. 63 - 31 ม.ค. 64 จัดหาวัสุดครุภัณฑ์ 0 10,000.00 10,000.00

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
  ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  ๓. เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรอง ให้กับ อสม.   ๔. ประชุมเตรียมชี้แจงอสม. ทบทวนความรู้ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตรับผิดชอบของตัวเอง   ๕. ดำเนินการให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย   ๖. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   ๗. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ   ๘. ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ   ๙. บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS   ๑๐. สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 13:43 น.