กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควันขาวให้โรค โปรดลด ละ เลิกบุหรี่
รหัสโครงการ 64-L5229-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2565
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนนทิยา เทพญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทางประชากรโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุ การตายของโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และเส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ในประเทศไทย บุหรี่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยปีละ 42,000 คน เฉลี่ยวันละ 115 คน (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่,2544) บุหรี่นอกจากทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำให้ประชาชนสูญเสียรายได้ จากการสำรวจ ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2546) พบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับค่าบุหรี่ของคนกรุงเทพฯ คิดเป็นเงินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน และเมื่อเจ็บป่วย จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น แม้มีการรณรงค์เรื่องการเลิกสูบบุหรี่ ที่ทำให้คนไทยตื่นตัวเห็นถึง อันตรายของการสูบบุหรี่กับสุขภาพ แต่ก็พบว่า ยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่ถึง 11 ล้านคน หรือ 21.91% ของประชากรไทย และมีผู้ได้รับควันบุหรี่และประชากรไทยร้อยละ 24.39 ของประชากร 65.18 ล้านคน มีโอกาสได้รับควันบุหรี่ในบ้าน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็ก 2.28 ล้านคน หรือร้อยละ 3.49 ของประชากรทั้งหมด (ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, 2549) บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน ทาร์ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ และถ้าสูบเกินวันละ 1 ซอง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 5-20 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบร้อยละ 80 และโรคหัวใจร้อยละ 50 ก็มีผลมาจากการสูบบุหรี่เช่นเดียวกัน จากข้อมูลการคัดกรองบุหรี่ในปีงบประมาณ 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองบุหรี่ จำนวน 2,664 คน มีผู้สูบบุหรี่จำนวน 435 คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่ จึงได้จัดทำโครงการควันขาวให้โรค โปรดลด ละ เลิกสูบบุหรี่ เพื่อค้นหาผู้สูบบุหรี่และชักชวนเข้าร่วมคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่โดยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านคอกช้าง หมู่ที่ 7 บ้านควนนา และหมู่ที่ 13 บ้านหนองกวางข้อง ซึ่งเป็นพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง โดยมีประชาชนทั่วไปที่สมัครใจเข้าร่วม และจัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 70 คน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจรู้เท่าทันอันตรายจากบุหรี่ สามารถลด ละ เลิกบุหรี่ได้ รวมถึงการได้รับบริการโปรแกรมเลิกบุหรี่ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดยใช้ลูกกวาดหญ้าดอกขาวหรือชาชงหญ้าดอกขาว การกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า และการอบไอน้ำสมุนไพร เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบในการลด ละ เลิกบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 25,700.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้ กับผู้สนใจเลิกบุหรี่ จำนวน 45 คน และ อสม. จำนวน 70 คน 115 6,105.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 2 กิจกรรม ผลิตลูกหวาดหญ้าดอกขาว 0 9,160.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 3 กิจกรรมผลิตนวัตกรรมลูกกลิ้งแปลงสารเลิกบุหรี่ 0 1,435.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 4.กิจกรรมตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ 0 3,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 5.กิจกรรมโปรแกรมเลิกบุหรี่ ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย 0 6,000.00 -

2.2 ประชาสัมพันธ์โครงการ   2.3 ดำเนินกิจกรรม ได้แก่ 2.3.1 กิจกรรมการคัดกรองสำรวจผู้สูบบุหรี่ - ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจผู้สูบบุหรี่ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง โดยใช้เครื่องมือชนิดแบบคัดกรองบุหรี่ เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง ตำบลกำแพงเพชร อำเภอ รัตภูมิ จังหวัดสงขลา
- ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบคัดกรองบุหรี่ นำมาวิเคราะห์ จัดทำทะเบียน กลุ่มสูบบุหรี่ กลุ่มเคยสูบบุหรี่ และ ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชน ร้านขายบุหรี่ที่ใกล้กับสถานศึกษา 2.3.2 กิจกรรมผลิตลูกหวาดหญ้าดอกขาว โดยความร่วมมือจากอสม.กับเจ้าหน้าที่
2.3.3 กิจกรรมผลิตนวัตกรรมลูกกลิ้งแปลงสารเลิกบุหรี่ โดยความร่วมมือจากอสม.กับเจ้าหน้าที่
2.3.4 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากบุหรี่ และวิธีการเลิกบุหรี่ ให้กับผู้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้าร่วม ในการให้ความรู้มีวิทยากรมาร่วมบรรยายในหัวข้อต่างๆ
2.3.5 กิจกรรมตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ
- ตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ ด้วยเครื่องเป่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด(smokerlyzer) โดยดำเนินการนัดผู้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ มาเข้าคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกวางข้อง โดยคลินิกมีบริการทุกวันพุธของสัปดาห์ 2.3.6 กิจกรรมโปรแกรมเลิกบุหรี่ ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย   - นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ด้วยนวัตกรรมลูกแกล้งแปลงสารเลิกบุหรี่   - อบสมุนไพร   - จ่ายยาสมุนไพร (ลูกกวาดหญ้าดอกขาว/ชาชงหญ้าดอกขาว) 2.4 ดำเนินนัดผู้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ มารับบริการโปรแกรมเลิกบุหรี่ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง
  โดยการนัดมารับบริการ 2 ครั้ง/สัปดาห์ พร้อมแจกแบบบันทึกสมุดติดตามเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง
2.5 ดำเนินการติดตามผู้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ ทุก 1, 3 และ 6 เดือน โดยการนัดมาตรวจวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ใน   ลมหายใจ ที่คลินิก ลด ละ เลิกบุหรี่ ร่วมกับให้ อสม. ติดตามสัปดาห์ละครั้ง โดยใช้แบบสมุดติดตามเลิกบุหรี่   ด้วยตนเอง 2.6 ประเมินผลโครงการตามวัตถุประสงค์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมคลินิกลด ละเลิก บุหรี่ สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
  2. ผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ สามารถเป็นบุคคลต้นแบบแก่ชาวบ้านในการไม่สูบบุหรี่
  3. เกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ในชุมชน
  4. ผู้ที่สมัครใจเลิกบุหรี่มีความพึงพอใจในการใช้บริการโปรแกรมเลิกบุหรี่ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:07 น.