กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรปลอดโรคจากสารเคมีตกค้างในเลือด
รหัสโครงการ 64-L5229-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลรัตภูมิร่วมกับคลินิคชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริฉัตร์ ชูสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกษตรกรมีการแสวงหาวิธีการเพื่อให้ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้น สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จึงถูกนำมาใช้ และมีแนวโน้มการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทางผิวหนัง ช่องปาก และลมหายใจ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ อวัยวะเมื่อได้รับการสะสมของสารเคมีก็จะแสดงของโรคต่างๆ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการเกษตรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ปี 2562 พบว่าผลการตรวจเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พบมีความปลอดภัย,ปกติ จำนวน 115 คน( ร้อยละ 23.38) มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 353 คน (ร้อยละ 67.11)  เขตพื้นที่ม.2 , ม.5,ม.8 ต.กำแพงเพชร พบมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 80 คน (ร้อยละ69.56 ) ดังนั้น งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลรัตภูมิ ร่วมกับคลินิกวัดใหม่ทุ่งคา ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารจำกัดศัตรูพืช วิธีป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อการพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษา เพื่อลดความเครียด การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ที่จำหน่ายชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 12,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมความรู้ ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตรวจเลือด แก่เกษตรกรและผู้สัมผัส สารเคมี 100 9,500.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 นำกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงมาปรับเปลี่ยน และประเมินผล 100 2,500.00 -

1 .เสนอโครงการ ขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงานและ อสม. ในชุมชนเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรม ในการดำเนินกิจกรรม 4. ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน 5. ค้นหาเกษตรกรในชุมชน ม.2, ม.5, ม.8 ต.กำแพงเพชร ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 4. ดำเนินกิจกรรม โครงการ เกษตรปลอดโรคจากสารเคมีตกค้างในเลือด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษเพิ่มขึ้น
  2. เกษตรกรที่มีความเสี่ยงมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:23 น.