กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวยสุขภาพฟันดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5229-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 17,165.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ทันตแพทย์ครรชิต แซ่ลือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูให้การเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาตามวัย โรคฟันน้ำนมผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งและก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านสุขภาพอนามัยของเด็ก และค่าใช้จ่ายสูงเพื่อการรักษา ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นการให้ความรู้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงดูเด็กหรือครอบครัว เพื่อสร้างความตระหนักและเกิดพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งให้บริการตรวจเช็คสภาพช่องปากเด็กอย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถพบโรคฟันผุในระยะแรกเริ่ม ซึ่งสามารถรักษาได้โดยไม่ยุ่งยาก ช่วยให้เด็กไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวดจากฟันผุ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษา และสิ่งที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่าเด็กเป็นโรคฟันผุตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเด็กอายุ 3-5 ปีและการที่เด็กมีฟันผุ ผู้ใหญ่กลับมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่จริงแล้วโรคฟันผุเป็นเรื่องอันตราย เพราะเด็กมีภูมิต้านทานน้อย จะทำให้เด็กเจ็บปวดทรมานเสียสุขภาพ โดยโรคฟันผุในระยะเริ่มแรก จะพบเป็นรอยสีดำตามหลุมและร่องฟัน เมื่อมีอาการผุลุกลามมากขึ้น จะทำให้เป็นรู และมีอาการเสียวฟัน เมื่อรับประทานของเย็นจัด จนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน เมื่อรูผุถึงประสาทฟัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ฟันจะผุจนกระทั่งเหลือแต่รากฟันฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจจะเกิดฝีหนองที่ปลายรากฟัน เป็นช่องทางให้เชื้อโรคแพร่กระจาย ไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยโรคที่พบบ่อยจากการติดเชื้อของฟัน เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ฝีที่ปอด และเยื่อบุสมองอักเสบ และอาจร้ายแรงจนเสียชีวิตได้และผลกระทบของฟันผุ คือ เบื่ออาหาร เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด จนเกิดโรคระบบทางเดินอาหารได้ในที่สุด โรคฟันผุเป็นปัญหาที่สำคัญที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่ที่พบมากและรุนแรงจะอยู่ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน คือ ช่วงอายุ 3-5 ปี ซึ่งจากผลการสำรวจโรคฟันผุในจังหวัดสงขลาและอำเภอรัตภูมิ พ.ศ.2562 พบว่าในกลุ่มเด็ก 3 ปี เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 49.9 และ 40.6 ตามลำดับ และจากผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. 2563 พบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 57.96 ซึ่งมีอัตราการเกิดโรคฟันผุสูงกว่าระดับจังหวัดและอำเภอ ( ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกำแพงเพชรวัดใหม่ทุ่งคา มีฟันผุร้อยละ 63.03 , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองกวางข้อง มีฟันผุร้อยละ 45.9, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกำแพงเพชรบ้านคอกช้าง มีฟันผุร้อยละ 50, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองต่อ มีฟันผุร้อยละ 47.76, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขารักเกียรติ มีฟันผุร้อยละ 67.44, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคม มีฟันผุร้อยละ 68.05 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยโอน มีฟันผุร้อยละ 67.01 ) จะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ต้องได้รับการส่งเสริมและป้องกันเพื่อไม่ให้โรคฟันผุทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการดำเนินของโรคที่สามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว และมีอัตราการเกิดโรคที่สูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองยังขาดการเอาใจใส่การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ส่งผลให้เด็กก่อนวัยเรียนมีปัญหาเรื่องโรคฟันผุ เพราะเด็กก่อนวัยเรียนยังไม่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ดีพอ เด็กวัยนี้จึงควรให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอย่างมากจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1116 17,165.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1. กิจกรรมหนูน้อยฟันสวย สุขภาพฟันดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2564 1,116 17,165.00 -

ขั้นตอนการเตรียมการ 1. ประชุมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. ประสานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรม 3. เตรียมแบบการสำรวจสภาวะช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. จัดเตรียมสื่อการสอน เตรียมแบบประเมินก่อน หลังดำเนินโครงการ เตรียมสถานที่ 5. จัดเตรียมแบบประเมินความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ 6. จัดเตรียมแบบสังเกตความสะอาด ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ โดยทันตบุคลากร ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ทันตบุคลากรออกเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเก็บข้อมูล รับทราบปัญหา และสังเกตกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 2. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ 3. จัดประชุมอบรมผู้ปกครอง - ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมโครงการ/ผู้ปกครองทำแบบทดสอบความรู้ เรื่องโรคฟันผุ การเลือกรับประทานอาหาร การแปรงฟัน และการตรวจสุขภาพช่องปากก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
- บรรยายโดยใช้สไลด์นำเสนอ และสื่อต่างๆ เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในหัวข้อที่กำหนด
- จัดอภิปรายกลุ่มเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน และทำการสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันให้เด็กก่อนวัยเรียนและการตรวจสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี
- ผู้ปกครองทำแบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมกิจกรรม 4. สนับสนุนที่ครอบแปรงสีฟัน เพื่อใช้จัดเก็บแปรงสีฟันได้ถูกสุขลักษณะ และป้องกันโรคติดต่อ
5. สนับสนุนสื่อนิทาน เพื่อเป็นสื่อประกอบในการเรียนการสอน
ขั้นตอนการประเมินผล 1. ทำแบบทดสอบความรู้ เรื่องโรคฟันผุและการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามวัย (ก่อน-หลัง) 2. ทำแบบประเมินทักษะการแปรงฟัน การตรวจสุขภาพช่องปาก (ก่อน-หลัง) 3. ทำแบบสังเกตความสะอาด (ก่อน-หลัง) 4. ทำแบบบันทึกการทาฟลูออไรด์ 5. ทำแบบประเมินความพึงพอใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชรมีทัศนคติที่ดีในการดูแลช่องปาก   2. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลเด็กเกี่ยวกับความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:53 น.