กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาดภายในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
รหัสโครงการ 64-L5229-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 88,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวนา หลงจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคระบาดได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุณย่า โรคมาลาเรีย โรคฉี่หนู เป็นต้น นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคระบาดไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคระบาด เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคระบาดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคระบาดจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ       ดังนั้นเทศบาลเมืองกำแพงเพชรและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกำแพงเพชรจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาดในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชรปี 2564 ขึ้น เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 88,800.00 0 0.00
23 ก.พ. 64 4.กิจกรรมพ่นสารเคมีในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด สำนักสงฆ์ สถานประกอบการ บ้านเรือนในบริเวณรัศมี 100 เมตร ช่วงระบาดของโรคในพื้นที่ 0 84,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1. กิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ 0 2,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2.กิจกรรมการรณรงค์ และสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน วัด มัสยิด 0 0.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 3.กิจกรรมอบรมการใช้เครื่องพ่นสารเคมี และเทคนิคการพ่นที่ถูกวิธีแก่อาสาสมัคร 0 2,800.00 -
  1. ทบทวนปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือด และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีระบาด ปีงบประมาณ 2564 เพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานกองคลังเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมถึงรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการควบคุมป้องกันโรค
  4. กิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
  5. กิจกรรมการรณรงค์ และสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน วัด มัสยิด โดยการประสานงานกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
  6. กิจกรรมอบรมการใช้เครื่องพ่นสารเคมี และเทคนิคการพ่นที่ถูกวิธีแก่อาสาสมัครจำนวน 30 คน
  7. กิจกรรมพ่นสารเคมีในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด สำนักสงฆ์ สถานประกอบการ บ้านเรือนในบริเวณรัศมี 100 เมตร ช่วงระบาดของโรคในพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา และสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
  2. ไม่พบการสูญเสียในระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก
  3. ความมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในการควบคุมโรคในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:55 น.