กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
รหัสโครงการ 64-L5229-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวนา หลงจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนเกือบ 6 ล้านคน ซึ่งในกลุ่มเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 5 ปี ร้อยละ 70 หรือประมาณเกือบ 2.8 ล้านคน จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเอง จึงนิยมนำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Nursery) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคเหา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นต้น การเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
การดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดติดต่อดังกล่าว โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก และสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกำแพงมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 6 แห่ง มีครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 31 คน และมีเด็กทั้งหมด 549 คน จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อควบคุมการแพร่กระจายโรคไม่ให้เกิดการระบาดภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดต่อใหม่ๆและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่   กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อให้เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 867 41,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1.กิจกรรมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง 560 25,400.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 2. กิจกรรมเด็กเล็กสดใส ห่างไกลเหา 274 14,000.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 3. กิจกรรมกำหนดแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค 33 1,600.00 -
  1. ประชุม วางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับ
    1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ
    2. ดำเนินกิจกรรมตามแผน 3.1 กิจกรรมให้ความรู้ครูและผู้ปกครอง               3.1.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้               3.1.2 จัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ร่วมกับผู้ปกครองเด็ก เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก อาการ การดูแล การป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว สร้างความตะหนักถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กที่จะส่งผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกาย และจิตใจ ในช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลในศูนย์เด็กเล็ก               3.1.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้ 3.2 กิจกรรมเด็กเล็กสดใส ห่างไกลเหา               3.2.1 ประสานครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหา               3.2.2 ประสานโรงเรียนจัดทำหนังสือแจ้งการเป็นเหา โดยขออนุญาตผู้ปกครองกำจัดเหาและขอความร่วมมือผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกำจัดเหา               3.2.3 ดำเนินการใส่ยาเหาให้เด็กนักเรียนที่เป็นเหาโดยสาธิตให้ผู้ปกครองดูและร่วมลงมือทำ และให้ผู้ปกครองใส่ยาเหาซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 7 วัน               3.2.4 ให้ครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตรวจดูการเป็นเหาหลังดำเนินกิจกรรม 3.3 กิจกรรมกำหนดแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค     3.3.1 ประสานครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชี้แจงและให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กตามกิจกรรมและมาตรการที่กำหนดตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค               3.3.2 ตรวจสอบการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคเมื่อเกิดโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็ก
    3. ประเมินผลกิจกรรมโครงการและสรุปผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกำแพงเพชร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก
  2. เด็กนักเรียนที่ได้รับการใส่ยาเหา หายจากการเป็นเหา
    1. ศูนย์เด็กเล็กมีการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กตามกิจกรรมและมาตรการที่กำหนดตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:57 น.