กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ในการเลี้ยงดู และการสื่อสารด้านสุขภาวะ ทางเพศ เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ในการเลี้ยงดู และการสื่อสารด้านสุขภาวะ ทางเพศ เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5238-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นางเหล้า
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 7,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมรัตน์ ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะในวัยรุ่น มักมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีรักในวัยเรียน ทำให้มีการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในวัยรุ่นมากขึ้น วัยรุ่นเหล่านี้มักปกปิดการตั้งครรภ์ แม้แต่ผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคลที่มีความใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนเองมากที่สุด บางคนก็ไม่ทราบว่าบุตรหลานของตนเองมีการตั้งครรภ์ ทำให้มารับฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์มากแล้ว ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ครอบครัว ไม่มีการสื่อสารทางเพศกับบุตรหลานวัยรุ่น ซึ่งจากรายงานการเฝ้าระวังการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า ในปี 2561 - 2563 พบว่า การคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี จำนวน 3 ราย และ 1 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ คิดเป็น 46.15 16.67 46 17 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 – 19 ปี 1000 คน และยังพบวัยรุ่นจำนวนหนึ่งที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้ง ทั้งโดยแพทย์และการทำแท้งเถื่อน ซึ่งเสี่ยงอันตรายสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า จึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก โดยใช้กระบวนการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ในการเลี้ยงดู และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น เป็นกระบวนการที่ทำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องเพศศึกษาเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น และผลกระทบในการสื่อสาร ได้เห็นบทบาทของตัวเองในการพูดคุยเชิงบวก เป็นที่พึ่งในบ้าน ได้ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ ซึงสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่ เป็นบุคลที่มีความใกล้ชิดกับและได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในบุตรวัยรุ่น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมบทบาทครอบครัว ในการเลี้ยงดู และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศ เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศวิถีชีวิตวัยรุ่นและผลกระทบในการสื่อสาร
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตวัยรุ่น เข้าใจเรื่องเพศ และผลกระทบในการสื่อสารเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองได้ฝึกทักษะการพูดคุยเชิงบวก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องทักษะต่างๆ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสื่อสาร ระหว่างพ่อแม่ /ผู้ปกครองกับบุตรหลาน เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี
  1. เพื่อลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี
    1. อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี น้อยกว่า 42 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 – 19 ปี 1000 คน
0.00
4 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
    1. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 60
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. นำเสนอปัญหาในเวทีประชาคมหมู่บ้าน/และเครือข่ายสุขภาพ
  2. จัดทำโครงการเพื่ออนุมัติงบประมาณ                                                      3. จัดประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ และวางแผนการดำเนินงาน ในวันประชุมประจำเดือน      ของอสม.       4. ประชาสัมพันธ์โครงการ                                                              5. เตรียมวัสดุ เอกสารในการอบรม ขั้นดำเนินการ       1. สำรวจผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี ในเขตพื้นที่โดย อสม. พร้อมจัดทำทะเบียน 2. จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่ให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานวัยรุ่นในเขตรับผิดชอบ /แลกเปลี่ยนประสบการณ์พ่อแม่ สร้างแกนนำพ่อแม่ 3. ติดตาม สนับสนุน ส่งเสริมการทำงานของแกนนำพ่อแม่ ขั้นประเมินผล 1. ประเมิน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตนคติ การสื่อสารในครอบครัว และ ทักษะที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น 2. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่กำลังดูแลบุตรหลานในชุมชนได้รับการทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้สื่อสารในเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศ และใช้ชีวิตทางเพศอย่างรับผิดชอบ
2.พ่อแม่ ผู้ปกครอง วัยรุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตนคติ และทักษะที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 16:26 น.