กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองการติดเชื้อ โรคเท้าช้างในประชาชน หมู่ที่ 3 บ้านโคกงู
รหัสโครงการ 64-L2484-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประนอม พรมเจียม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 16,100.00
รวมงบประมาณ 16,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียว ที่ยังมีรายงานผุูู้ป่วยโรคเท้าช้าง ใน ปี 2562 จำนวน 14 ราย ซึ่ง 1 ในผู้ป่วยทั้งหมด นี้ เป็นประชาชนในพื้นที่ ตำบลบางขุนทอง เป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิต
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียวที่มีปัญหาการแพร่โรคเท้าช้าง โดยมีการรายงานการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในพื้นที่บริเวณรอบพรุใน 7 อำเภอ 22 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยสะสมขึ้นทะเบียนรักษาจนถึง กันยายน 2562 จำนวน 14 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิตทั้งหมด ซึ่ง 1 ในผู้ป่วยทั้งหมด นี้ เป็นประชาชนในพื้นที่ ตำบลบางขุนทอง ส่วนผู้ป่วยนอกทะเบียนที่ปรากฏอาการและต้องได้รับการดูแล จำนวน 12 ราย การกระจายของผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิต พบมากในอำเภอสุไหงโก-ลก (7 ราย) อัตราส่วนเพศชาย:เพศหญิง เท่ากับ 1:1.3 ส่วนใหญ่อายุ 5-14 ปี (7 ราย)สำหรับผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อไมโครฟิลาเรียในประชาชน ปีงบประมาณ 2561 ในพื้นที่ 9 กลุ่มบ้านของจังหวัดนราธิวาส พบอัตราการตรวจพบไมโครฟิลาเรีย ร้อยละ 0.18
นอกจากนี้จากการสำรวจทางกีฏวิทยาในปี พ.ศ. 2559 พบยุงที่เป็นพาหะชองโรคเท้าช้าง คือ Mansonia uniformis ที่มีพยาธิเท้าช้างระยะ L3 จำนวน 1 ตัว ในตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ปี พ.ศ. 2561 พบเชื้อพยาธิเท้าช้าง ระยะ L2 หรือตัวอ่อนระยะก่อนติดเชื้อ (pre-infective lavae) ในยุงชนิด Mansonia annulataแต่ไม่พบตัวอ่อนระยะ L3 ในตัวยุง
จากการที่พบผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสโลหิตเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาว่า ยังมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้ อีกหรือไม่ โดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อในประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไป ทุกคน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเจาะโลหิตตรวจโรคเท้าช้าง

๑.ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเจาะโลหิตตรวจโรคเท้าช้าง อย่างน้อย 90%

600.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 - 31 มี.ค. 64 - สำรวจรายชื่อประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไปในพื้นที่ ม.1บ้านบางขุนทอง และม.6 บ้านยูโย 0 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันโรคในชุมชน 0 16,100.00 16,100.00
รวม 0 16,100.00 1 16,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564 00:00 น.