กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5188-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,632.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยการเรียนรู้โรคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีอัตราการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก จากการสำรวจทั่วโลก(WHO) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน ๑๓๕ ล้านคน คาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๔ จะมีผู้ป่วยเบาหวานมากถึง ๓๐๐ ล้านคนสำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจข้อมูลของ National Health And Surveyพบว่าความชุกของโรคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ๔.๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙เป็นร้อยละ๙.๖หรือ ๒.๔ ล้านคนในปี พ.ศ.๒๕๔๓และจากจำนวนดังกล่าวมีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานคิดเป็นร้อยละ ๔.๘ เท่านั้นซึ่งเกือบร้อยละ ๕๐ ที่ไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นเบาหวานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการภาวะแทรกซ้อน เช่นไตวายหัวใจเป็นแผลเรื้อรังบางรายก็มีอันตรายจนถึงชีวิตได้ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลเกาะสะบ้า ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ดำเนินการตรวจคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๑๗ คน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ๘๔คน จากประชากรเป้าหมาย๓,๑๘๔ คน จากการประเมินความเข้าใจในเรื่องความรู้การดูแลตนเองพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในเกณฑ์ดี การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย จากการซักประวัติรายบุคคลบางรายพบว่ามีความรู้แต่ยังขาดทักษะในการปฏิบัติตัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้ารวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)มีความมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อ กระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และหันมาดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการในการดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ให้มีภาวะเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ตามศักยภาพ สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตในชุมชน จะทำให้กลุ่มเสี่ยงเกิดกำลังใจและมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้ดีขึ้น

 

2 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และตระหนักถึงแนวทางการดูแลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

3 กลุ่มเสี่ยงเกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

 

4 กลุ่มเสี่ยงมีการดูแลสุขภาพโดยการปลูกผักกินเอง เน้นใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
18 ก.ย. 60 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 200 21,632.00 21,632.00
รวม 200 21,632.00 1 21,632.00

1 ประชุมทีมสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อชี้แจงโครงการ 2 สำรวจกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูงเพื่อเข้าร่วมโครงการ 3 จัดทำหนังสือเชิญวิทยากรและชี้แจงโครงการ 4 จัดกิจกรรมค่ายเบาหวานความดันโลหิตสูง 5 ประมวลผลและวิเคราะห์การจัดกิจกรรมค่ายเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้ดีขึ้น ปัญหา มีส่วนร่วมในการช่วยดูแลผู้ป่วยส่งผลให้การรักษามีผลดียิ่งขึ้น
2.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น 3.กลุ่มเสี่ยงเกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน อย่างน้อย ๑ กลุ่ม 4.กลุ่มเสี่ยงมีการดูแลสุขภาพโดยการปลูกผักกินเอง อย่างน้อย ๕๐ %

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 16:19 น.