กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียดในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียดในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ)
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 2 – 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 31,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูรซูวัน ราษฎร์สดี พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมคุมประพฤติ มีหน้าที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นคนดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดคดีอาญาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดมีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากพื้นที่ อีกทั้งกลุ่มผู้ติดยาเสพติดยังเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในพื้นจังหวัดชายแดนใต้ สารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพโดยตรง ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศเป็นอย่างมาก และถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติด คือผู้ด้อยโอกาสประเภทหนึ่งเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบ อันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมกับผู้อื่น จากปัญหาผู้ด้อยโอกาสบางรายปิดกั้นตัวเอง เนื่องจากมองไม่เห็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองในด้านต่าง ๆ ถูกกีดกัน ถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ขาดการยอมรับจากสังคม (ไม่มีตัวตน อยู่ในภาวะยากลำบาก) สังคมมีทัศนคติเชิงลบ การให้บริการของรัฐ หน่วยงานยังจำกัด ไม่ครอบคลุมมีข้อกำหนดที่กีดกัน ผู้ด้อยโอกาสมีทัศนคติเชิงลบต่อตนเอง ขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยเฉพาะการเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ด้อยโอกาสอาจมีปัญหาสุขภาพก่อน ระหว่างหรือหลังถูกคุมขังทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ อาจไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สุขภาพไม่ดี และอาจแพร่กระจายเชื้อโรคในวงกว้างได้ในกรณีเป็นโรคติดต่อ มีภาวะซึมเศร้าจากการตีตรา ทัศนคติเชิงลบของคนในครอบครัว และสังคมส่งผลให้เกิดปัญหาซึมเศร้า ใช้ยาเสพติดซ้ำ เกิดอาชญากรรมในปี 2563 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา มีผู้ถูกคุมความประพฤติทั้งสิ้น จำนวน 500 ราย และมีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งสิ้น จำนวน 360 ราย ผู้ถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา มีจำนวนประมาณ 100 คน และโรคที่พบของผู้ถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นโรควัณโรค คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมา โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง คิดเป็นร้อยละ ๒๖ และโรคหอบหืด คิดเป็นร้อยละ 10 ตามลำดับ จากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ต่างๆที่ควรจะได้รับเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สร้างค่านิยมและคุณค่า เพื่อสร้างศรัทธาต่อตนเอง (self-esteem) และลดการพึ่งพิงรัฐในอนาคต จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียด ในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาสสร้างความตระหนัก ในการป้องกันโรค ลดการแพร่กระจาย เข้าถึงการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการแทรกซ้อนของโรคและสามารถนำความรู้ดูแลตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ในการจัดการความเครียด และส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเอง
  1. มีความรู้ในการจัดการความเครียด การส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเอง ร้อยละ 80
0.00
3 ข้อที่ 3. ส่งต่อรักษา ดูแล อย่างต่อเนื่องในระบบสาธารณสุข
  1. ผู้ด้อยโอกาส(ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) ได้รับการส่งต่อในกรณีเจ็บป่วยโรคเรื้อรังทั้งทางสุขภาพกาย จิตใจ      ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,020.00 0 0.00
3 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียด 0 31,020.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 การประชุมสรุปและประเมินผลภาวะสุขภาพของผู้ด้อยโอกาส 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ
  2. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ในการจัดการความเครียด การส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเองและยอมรับโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 15:04 น.