กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กอายุ 1- 12 ปีตำบลลิดล
รหัสโครงการ 64-L4142-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาลีนา เจ๊ะแว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.551,101.166place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีจำนวนเด็กอายุ 1 – 12 ปีจำนวน 1,136 คน จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กในปี 2563 พบว่าเด็กอายุ 3 ปีปราศจากฟันผุ ร้อยละ 45.08 (เกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 57) และมีอัตราฟันดีไม่มีผุในเด็กอายุ 12 ปีร้อยละ 76.00 (เกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 กลุ่มเด็กอายุ 1 – 5 ปี (ในคลินิกเด็กดี) - ให้อสม.สำรวจรายชื่อผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 1 – 5 ปี ที่ตนรับผิดชอบ
- คัดเลือกผู้ปกครองเด็กจำนวน 200 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการ
- แบ่งผู้เข้าร่วมโครงการเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (กลุ่มทดลองมีคุณสมบัติคือผู้ปกครองที่อ่านออกเขียนได้ มีsmart phone และสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้) แล้วเริ่มกระบวนการดังนี้ - กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จัดทำสมุดบันทึกการแปรงฟันให้เด็ก 1 – 5 ปี โดยผู้ปกครองเด็ก     รายบุคคล - กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสร้างความตระหนักการทำความสะอาดฟันลูกโดย ให้ความรู้เรื่องผลกระทบของโรคฟันผุต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และแสดงปริมาณคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันลูกโดยการใช้หลอดดูดน้ำขูดที่ตัวฟัน - กลุ่มควบคุม ฝึกทักษะการแปรงฟันให้ลูกในคลินิกเด็กดี ร่วมกับการใช้สื่อโปสเตอร์ - กลุ่มทดลอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้ลูกในคลินิกเด็กดี ร่วมกับการใช้สื่อออนไลน์ chat bot 21วันฟันดี ผ่านโปรแกรมmessenger ของ facebook
- กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เมื่อครบ 1 เดือนนัดตรวจฟัน เพื่อวัดปริมาณคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันเปรียบเทียบกับก่อนให้ความรู้ - กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง นัดติดตามตรวจช่องปากเด็ก เมื่อครบ 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อติดตามสภาวะทันตสุขภาพของเด็ก - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการอุดฟันแบบ SMART ในเด็กอายุ 1- 5 ปี ที่มีฟันผุ

2.2 กลุ่มเด็กอายุ 6 – 12 ปี - รับสมัครนักเรียนเพื่อแต่งตั้งเป็นแกนนำนักเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนตาดีกา จำนวน 30 คน จากโรงเรียนตาดีกา 3 แห่ง ได้แก่ ตาดีกาบ้านจันเรียน(12คน) ตาดีกาบาตูปูเตะ (12คน) ตาดีกากาปงปาวฮ (6คน) - จัดอบรมแกนนำนักเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนตาดีกา ณ รพ.สต.ลิดล โดยเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะและความมั่นใจในการเผยแพร่ความรู้ในโรงเรียน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเช่นจัดบอร์ด อ่านบทความผ่านเสียงตามสาย การสาธิตการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน เป็นต้น - จัดทำสมุดบันทึกการแปรงฟันของนักเรียนตาดีการายบุคคลทั้ง 3 แห่ง จำนวน 180 เล่ม ดังนี้ ตาดีกาบ้านจันเรียนจำนวน 80 เล่ม ตาดีกาบาตูปูเตะ จำนวน 60 เล่ม ตาดีกากาปงปาวฮ จำนวน 40 เล่ม - แกนนำนักเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนตาดีกา ควบคุมการแปรงฟันของนักเรียนในโรงเรียนตาดีกา - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงพื้นที่ให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนตาดีกาตามความเหมาะสม 2.3 ประเมินสภาวะทันตสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย เมื่อครบ 6 เดือน 2.4 จัดประชุมแกนนำนักเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนตาดีกา เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ 2.5 สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กอายุ 6 - 12 ปี และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง แกนนำนักเรียนสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนตาดีกาได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กปฐมวัยและวัยเรียนมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 11:25 น.