กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 ตุลาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวราตรีภรณ์ เส้งสีแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,800.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ให้มีการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ มีความจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับชุมชน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงด้านสาธารณสุข ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทย มาตรการที่สำคัญ คือ D-M-H-T-T D คือ Social Distancing การเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย ๑-๒ เมตร M คือ Mask สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ H คือ Hand ล้างมือบ่อยๆ T คือ Testing ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย T ตัวสุดท้ายคือ Thai Cha Na เช็คอินแอปพลิเคชันไทยชนะ ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก“Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหู่เป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและถือได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)

ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเข้าสู่ชุมชน

ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ได้รับการคัดกรองร้อยละ ๑๐๐

85.00 100.00
2 2.เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในชุมชน

ชุมชนตำบลบางปอมีความตระหนักและเฝ้าระวังโรคติดต่อได้

70.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,800.00 1 16,800.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การคัดกรองผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง เเละผู้ที่มาทำบุญที่วัด 0 16,800.00 16,800.00

ขั้นเตรียมการ

๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่

๒. จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ

๓. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ

  ๓.๑ ประชุมชี้แจงและประสานงานกับเครือข่ายรพ.สต. เพื่อแจ้งขั้นตอนการคัดกรองผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ,จัดเตรียมสื่อ,อุปกรณ์,เครื่องมือในการดำเนินงานคัดกรองในชุมชน

  ๓.๒ ชี้แจงระบบและขั้นตอนตามแนวทางการดำเนินงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง COVID-19

  ๓.๓ ชี้แจงการลงสรุปรายงานผลการคัดกรองโรค COVID-19 และการดำเนินการ X-ray ผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงในชุมชน

ขั้นดำเนินการ

  1. ประชุมแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและผู้เกี่ยวข้องถึงการดำเนินการโครงการ

  2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและให้ความร่วมมือความสนใจ โดยให้แก่นนำอสม.เป็นผู้ประสานงาน

    1. สำรวจผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามแนวทางที่กำหนดไว้

    2. จัดทำทะเบียน กลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง

    3. จัดทำป้ายรณรงค์ เพื่อให้เกิดความตระหนักในมาตรการการป้องกันโรค

    4. ติดตามผลการบันทึกของ การคัดกรอง

    5. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้ผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ได้รับการคัดกรอง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2564 11:08 น.