กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
รหัสโครงการ 60-L5211-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีฟา บิลหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยรัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหารยาเครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริม เครื่องสำอาง ในร้านชำ และการรณรงค์ลดการใช้โฟมในร้านอาหาร แผลลอย ในชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชนร่วมด้วย ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีด้านอาหารปลอดภัย ซึ่งถือว่าอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม เฝ้าระวัง สุขภาพของผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ปี ๒๕๖๐ ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหารยาเครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริม และยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ต่อไป ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของคนในชุมชนเองจึงมีต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวัง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายในชุมชนให้ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเฝ้าระวังปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชนและปัญหา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ห้ามจำหน่ายในร้านค้า ร้านชำ ลดลง ๒. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านอาหาร แผงลอย ภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย ๓. เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมายลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน

๑. ร้านอาหาร แผงลอย ในพื้นที่เป้าหมาย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ปลอดภัย ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข -ผ่านเกณฑ์อาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานCLEAN FOOD GOOD TEASE -ผ่านเกณฑ์อาหารปราศจากสารปนเปื้อน ๖ ชนิด -ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ๑๒ ข้อ -ร้านค้า ร้านชำ ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องห้าม ไม่ผ่าน อย.รับรอง ๒. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ใช้ผลิตภัณฑ์ได้ปลอยภัย อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
๓.. อัตราการป่วยด้วยโรคระบาด/โรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่รุนแรงในพื้นที่ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ (Plan) - จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย - ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้แก่ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ - จัดทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุมัติโครงการต่อไป - ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคของอำเภอบางกล่ำร่วมลงพื้นที่ การดำเนินงาน (Do) ๑.กิจกรรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ เยี่ยมให้คำแนะนำ ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร - ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ ประชาสัมพันธ์ ตามมาตรฐานงานคุ้มรองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย ในเขตรับผิดชอบ โดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. อย.น้อย ๒.กิจกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินร้าน - สำรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร/ร้านค้า/ร้านชำ ในตำบลบ้านหาร - ตรวจเยี่ยมและประเมินร้านตามแบบข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร - ตรวจเยี่ยมและประเมินร้านตามแบบตรวจร้านทางแบคทีเรีย (Si-๒) - ตรวจเยี่ยมและประเมินร้านตามแบบตรวจร้านขายของชำ - รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจาณาเพื่อสนับสนุนป้ายและใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ๓.กิจกรรมการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง -ให้ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ร้านค้าสามารถขายได้/ ไม่สามารถขายได้ / ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ อย. ประกาศห้ามจำหน่าย รวมไปถึง รายการยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ -สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การประเมินผล ( Check ) - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

การปรับปรุง Act - ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้านอาหาร แผงลอย ในพื้นที่เป้าหมาย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ปลอดภัย ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข -ผ่านเกณฑ์อาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานCLEAN FOOD GOOD TEASE -ผ่านเกณฑ์อาหารปราศจากสารปนเปื้อน ๖ ชนิด -ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ๑๒ ข้อ -ร้านค้า ร้านชำ ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องห้าม ไม่ผ่าน อย.รับรอง

๒. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ใช้ผลิตภัณฑ์ได้ปลอยภัย อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

๓.. อัตราการป่วยด้วยโรคระบาด/โรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่รุนแรงในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 15:37 น.