กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
รหัสโครงการ 64-L7258-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 1,019,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณตฤณ เพ็ชรมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ซึ่งย่อมาจาก Coronavirus disease 2019" เป็นตระกูล เดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมี ภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองฮู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและ ไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใหม่ชื่อ ไวรัสโคโรน่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ ที่ถูกค้นพบเป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARES) และเมอร์ส (MERS) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CODVID-19) ในประเทศไทยนั้นเจอผู้ป่วยยืนยันครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม 2563 และมีการติดต่อของโรคเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVD-๑๙) ในประทศไทยสะสม 5829 ราย หายแล้ว 4116 ราย รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1653 ราย เสียชีวิต ๖๐ ราย (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 12.38 น.) และจังหวัดสงขลา หลังจากสถานการณ์ การติดเชื้อด้วยโรคดังกล่าวคลี่คลายลงมาระยะหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้แถลงการณ์ว่า พบผู้ติดเชื้อยืนยันจำวน 1 รายในพื้นที่ ซึ่งเป็นสัญญาณได้ว่ากำลังจะมีอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (CODVID-19) อุบัติซ้ำขึ้นในพื้นที่อีกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVD-19 มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไอ จาม รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก ไม่ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้หรือภาชนะร่วมกับบุคคลอื่น รวมถึงสวมหน้ากาก อนามัย จากเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และ เมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาลและระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖ ข้อ 13 และข้อ 14 สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนคร หาดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 (CODVID-19) ประจำปี งบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้า ระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 (CODVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)

ประชาชนได้รับความรู้ในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดและการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)

ไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,019,500.00 1 934,500.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและเฝ้าระวังการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) 0 1,004,500.00 934,500.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์ 0 15,000.00 -

1.ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.ประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 3.เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 4.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) 5. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยผ่านสื่อต่าง ๆ 6. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVD ๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อฯ 7. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งข่าวสารให้แก่ประชาชนทราบเป็นระยะและทันสถานการณ์ 8. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน เทศบาลนครใหญ่ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประขาชนความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVD ๑๙) ได้
  2. ลดการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVD ๑๙) ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ มีมาตรฐาน ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 13:24 น.