กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

เติมพลังใจ ต้านภัยความเครียด ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษม ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เติมพลังใจ ต้านภัยความเครียด ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษม ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
รหัสโครงการ 64-L7258-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษม
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณาตยา ชายแก้วนพรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันคนเราเต็มไปด้วยความเครียด มีสาเหตุมาจากหลายประการไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพ ปัญหาสังคม การเมือง และที่หลีกหนีไม่พ้นอย่างหนึ่ง คือ ความเครียดอันเกิดจากการประกอบอาชีพหรือการทำงาน จากผลการสำรวจ ของเอแบคโพลล์กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่าร้อยละ ๖๕ มีปัญหาความเครียดอันเนื่องมาจาก การทำงาน และปัญหานี้หากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ หรือ แม้แต่ผลการทำงานที่ลดน้อยลง ซึ่งต้องยอมรับว่าจำนวนของคนทำงานที่มีภาวะโรคจิตและโรคซึมเศร้ามีสถิติเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและสุขภาพจิตของคนทำงานมาจากปัจจัยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศ ร้อนทำให้อารมณ์ร้อน หงุดหงิดและฉุนเฉียวมากขึ้น หรือลักษณะของงาน อาจเกิดขึ้นได้จากทำงานในส่วนที่ไม่ชอบ มีลักษณะงานที่ขัดกับบุคลิกภาพหรือทำงานในส่วนที่ต้องรองรับอารมณ์คนอยู่ตลอดเวลา กรมสุขภาพจิต เผยวัยทำงานเป็นกลุ่มเกิดความเครียดได้สูง ในรอบ ๓ ปี ข้อมูลจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2560 ที่ให้บริการปรึกษาฟรีตลอด ๒๔ ชั่วโมง พบว่าผู้ใช้บริการมากที่สุด คือ กลุ่มวัยทำงานอายุ ๒๒-๕๙ ปี จำนวน ๑๐๕,๙๖๗ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 62 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด 169,728 ครั้ง คิดเป็นอันดับ ๑ โรคเครียด ถือเป็นโรคยอดนิยม โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานเนื่องจากต้องรับผิดชอบหลายอย่าง จึงทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย โดย ความเครียดนั้นยังมีหลายระดับด้วยกัน และในระดับรุนแรงถือว่ามีความอันตรายค่อนข้างมาก เสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรค ศูนย์บริการสาธารณสุขเพชรเกษมฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ตระหนัก เห็นความสำคัญของการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มวัยทำงาน จึงได้ทำโครงการ "เติมพลังใจ ต้านภัย ความเครียด" เพื่อช่วยให้กลุ่มวัยทำงานได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง และสามารถ ประยุกต์ใช้วิธีการบริหารจัดการความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถเผชิญกับปัญหาและความจริงของ ชีวิตได้ดี มีภูมิคุ้มกัน เมื่อนั้นเราก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประยุกต์ใช้วิธีการบริหารจัดการความเครียดของตนเองได้อย่าง เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๘๐ มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังอบรม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหาสุขภาพจิตคนวัยทำงาน

ประขาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๘๐ มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 300.00 1 300.00
27 เม.ย. 64 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 0 300.00 300.00
2 กิจกรรมจัดอบรมโครงการเติมพลังใจ ต้านภัยความเครียด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 7,600.00 5 0.00
17 - 18 พ.ค. 64 ค่าวิทยากร 0 3,600.00 0.00
17 - 18 พ.ค. 64 ค่าวัสดุอุปกรณ์ 0 2,000.00 0.00
17 - 18 พ.ค. 64 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้อบรม 50 1,250.00 0.00
17 - 18 พ.ค. 64 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ 0 500.00 0.00
17 - 18 พ.ค. 64 ค่าถ่ายเอกสาร 0 250.00 0.00

๑. ประสานงานกับ อสม. ในชุมชนหากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าอบรมโครงการ เติมพลังใจ ต้านภัยความเครียด ปีงบประมาณ 2564 ๒. กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานโครงการและการรายงานผลการดำเนินงานพร้อมทั้งประสานงานกับ วิทยากร ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการก่อนการดำเนินงาน ๔. จัดอบรมโครงการ เติมพลังใจ ต้ายภัยความเครียด กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๕๐ คน โดยจัดอบรม ๒ รุ่น รุ่นละ ๒๕ คน (อบรมรุ่นละ ๓ ชั่วโมง) ๕. สรุปและประเมินผลโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสมารถประยุกต์ใช้วิธีการบริหารจัดการความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม ๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความข้าใจเรื่องปัญหาสุขภาพจิตคนวัยทำงาน ๓.ลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจกภาวะเครียด เช่น โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ ซึ่งโรคเหล่านี้อาจนำพาไปสู่ภาวะทางจิตที่ รุนแรงขึ้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 14:10 น.