กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

เฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านม ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านม ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 3/64 เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2564
รหัสโครงการ 64-7258-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,275.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพีรดา ศรีจำเริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคมะเร็งในไทยปัจจุบันยังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการ เสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า ๑๒๐,๐๐๐ ราย และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตมากกว่า 60,000 ราย โดยโรคมะเร็งที่พบมาก ๕ อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง จากเดิมที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปากมดลูก โดยสตรีที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน แต่ใน กลุ่มที่อายุมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างชัดเจนและช่วงอายุที่พบอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งเต้านมสูงสุด คือระหว่าง ๕o - ๕๕ ปี สาเหตุมากจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคที่เน้นไขมันสูง ภาวะอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงปัจจัยหาพันธุกรรม มะเร็งเต้านมระยะแรกจะไม่แสดงอาการ หรือความผิดปกติให้สังเกตได้ ต่อมาคลำได้ก้อนแข็งในระยะแรกเป็นก้อนเล็ก ถ้าทิ้งไว้จะขยายใหญ่ขึ้น ในที่สุดจะแตก เป็นแผล ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งเต้านมได้ลุกลามและแพร่กระจายแล้ว การป้องกันมะเร็ง เต้านม นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการค้นหา ความผิดปกติของเต้านมให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาและรอดชีวิต การให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชน การตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ และได้รับการรักษาอย่าง รวดเร็ว พบว่าเป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งการตรวจหามะเร็งเต้านมที่มี ประสิทธิภาพต้องอาศัยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติจะต้องได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์บริการสาธารณสุขโรงเรียนเทศบาล 1 จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านม โดยให้ความรู้ เรื่องมะเร็งเต้านม และสอนสาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นการ สร้างความตื่นตัวในการป้องกันโรคดังกล่าว และเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนที่จะลุกลามต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการอบรมทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแรก

กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติของเต้านมตนเองได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม

อัตราการป่วยและเสียชีวิตของโรคมะเร็งเต้านมลดลงอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 15,275.00 3 7,800.00
1 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมวางแผนการดำเนินงาน 0 675.00 0.00
1 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 วิทยากร /โมเดลเต้านม/ไวนิล/อาหารว่าง/เอกสาร 60 14,300.00 7,800.00
1 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 300.00 0.00

๑. ประชุม อสม.แกนนำ และเจ้าหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๒. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ ๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม ๔. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบทราบเพื่อเข้าร่วมโครงการ ๕ ดำเนินงานจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยแบ่งอบรมเป็น จำนวน ๒ รุ่น ๖. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ตามโครงการ ๗. สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี ๒. สามารถค้นหาความผิดปกติของะเร็งเต้านมในระยะแรก 3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งตัว และรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 15:38 น.