กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง
รหัสโครงการ 64-L1518-0121
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันธ์ทิวาพร ศรีจันทร์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลวังมะปรางเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในปี 2548-2563 เท่ากับ 88.20 158.7670.56123.48และ 88.20 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบกับสภาพภูมิอาการที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วัน จาก ๗ วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖¬๓ อาจเกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก และหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลต่างๆ หรือแม้แต่ในระบบการเฝ้าระวังในพื้นที่ก็ต้องดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน๒๔ ชั่วโมงและพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย๑๐๐ เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้ง โดยมีระยะห่างกัน 7 วัน เพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงได้จัดทำ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำเป็นการตัดวงจรพาหนะ นำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2558-2563)

ข้อที่ 2 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ 2558-2562) ร้อยละ 20

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2558-2563)

ข้อที่ 2 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ 2558-2562) ร้อยละ 20

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

ข้อที่ 3 ร้อยละ 80 ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,000.00 0 0.00
16 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสารความเสี่ยง 1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบ ในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 2. ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3. ให้ความรู้ พร้อมกันสื่อสาร 0 3,000.00 -
16 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง 3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 38,000.00 -
15 มิ.ย. 64 - 12 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 1. กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข 2. รณรงค์ขับเคลื่อนโดยชมรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้ 0 4,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง ๒. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๓. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 12:15 น.