กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเครือข่ายสุขภาพ ชุมชนคลองวาด
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหร่มหละ เก็มเบ็ญหมาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ระลอกใหม่มีการแพร่กระจายในวงกว้าง และองค์การอนามัยโรคได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและมีการติดต่อจากคนสู่คน สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ณ วันที่ 18 มกราคม 2564 พบผู้ป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สะสม จำนวน 12,423 ราย เสียชีวิต 70 ราย ยังรักษาอยู่ 3,147 ราย และมีการแพร่ระบาดกระจายทุกภาค ภาคกลาง จำนวน 7,921 ราย ,กรุงเทพและปริมลฑล จำนวน 3,218 ราย,ภาคใต้ 798 จำนวน ราย,ภาคเหนือ จำนวน 322 ราย และภาคอีสาน จำนวน 164 ราย ข้อมูลจังหวัดสงขลา ณ วันที่ 18 มกราคม 2564 พบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จำนวน 137 คน ตรวจไม่พบเชื้อ Covid จำนวน 4 ราย มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม จำนวน 7 ราย จำนวน 2 รายที่พบการติดเชื้อในประเทศรักษาหายแล้ว และติดเชื้อจากต่างประเทศจำนวน 5 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลระวังตนเองให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบของชุมชน       ชุมชนร่วมด้วยคลินิกชุมชนโคกเมามีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เช่นกลุ่มที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทย ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ดังนั้นชุมชนร่วมกับคลินิกชุมชนโคกเมาจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) เพื่อควบคุม เฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ให้ทันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ได้อย่างมีคุณภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้การแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
  1. สามารถแก้ไขปัญหาการเกิดโรคได้ทันท่วงที
  2. ไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ในพื้นที่
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,100.00 0 0.00
6 พ.ค. 64 กิจกรรมคัดกรองการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา(โควิด-19) 0 20,100.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ (Plan)   1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน   1.2 ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวให้ประชาชนทราบถึงกิจกรรมของโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ (Do)   2.1 กิจกรรมคัดกรองและการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19)   2.2 กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตวิธีการล้างมือ ๗ ขั้นตอน รวมถึงการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี
  3. ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล (Check)   3.1 รายงานผลปฎิบัติกิจกรรม   3.2 แบบประเมินความพึงพอใจ
  4. ขั้นสรุป รายงานผล และปรับปรุง (Act) 4.1 บันทึกสรุปผลจากการปฎิบัติงานและดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาและผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในพื้นที่ชุมชน
  2. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อุบัติซ้ำในพื้นที่
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 15:40 น.