กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน ปี64
รหัสโครงการ 64-L5295-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะบัน สำนักพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ตำบลป่าแก่บ่อหิน ในปีงบประมาณ 2563 ( ตุลาคม 2562-กันยายน 2563) พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 23 ราย โรคความดันโลหิตสูง 193 รายโรคเบาหวานความดันจำนวน 81 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่งบประมาณที่แล้วมากกว่าร้อยละ 5 และพบผู้ที่ตรวจมะเร็งปากมดลูกพบความผิดปกติ 2 ราย ได้ส่งต่อทั้งหมด พบว่าผู้ป่วยมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี และมีอัตราป่วยค่อนข้างสูง สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ออกกาลังกาย ขาดความรู้ และไม่ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ของเจ้าหน้าที่ ปัจจุบันพบในกลุ่มอายุน้อยลงตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ส่วนน้อยที่เกิดจากกรรมพันธุ์ และพบโรคอ้วนในกลุ่มนักเรียนมากขึ้นจากผลการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่มและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ การค้นหาผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มุ่งเน้นฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติ
ดังนั้นรพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นโดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วนเช่น อสม. นสค และตัวผู้ป่วยเองร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและสามมารถดูแลตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคความดันและเบาหวาน

-อัตราป่วย  DM,HT รายใหม่ลดลงร้อยละ 5 -กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100 -คัดกรอง  HT,DM,  ร้อยละ  90

100.00
2 กลุ่มป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

-ผู้ป่วย DM ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมากกว่าร้อยละ40 -ผู้ป่วยHT ควบคุมความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ50 -ผู้ป่วย DM ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ร้อยละ 100

0.00
3 . สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

-สตรีอายุ 30-60ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80

80.00
4 นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ได้รับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3 อ 2 ส

มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 233 36,875.00 4 36,875.00
16 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีค่า DTX มากกว่า 126 mg% 43 6,775.00 -
16 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน 50 16,100.00 -
17 - 28 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี 110 5,650.00 -
17 ก.พ. 64 ให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 0 0.00 6,775.00
1 - 31 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส แก่กลุ่มนักเรียนที่มี BMI เกินมาตรฐาน 30 8,350.00 -
11 มี.ค. 64 อบรมให้ความรุ้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 0 0.00 5,650.00
13 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ2ส ในกลุ่ม BMI เกิน 0 0.00 8,350.00
19 มี.ค. 64 อบรมให้ความรุ้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน 0 0.00 16,100.00

ขั้นตอนการวางแผน 1.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.ชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดตั้งคณะกรรมการ 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.ดำเนินกิจกรรมตามแผน 6. ประเมินผลโครงการ   ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการจัดทำโครงการ 2.วิเคราะห์ข้อมูลในการทำโครงการและนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน 3.ปรึกษาและรับคำแนะนำจากคณะกรรมการ 4.ดำเนินการตามขั้นตอนของโครงการ 5.สรุปผลตามตัวชี้วัด 6.จัดทำเล่มรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังได้รับความรู้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กลุ่มป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่(2558-2563)มีความรู้ในการดูแลตนเองและลดภาวะแทรกซ้อน
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า 4.นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5.สตรี 30-70 ปี ได้รับคสามรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองและตรวจมะเร็งปากมดลูก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 10:32 น.