กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3070-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี อำภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 45,686.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณี สาแล๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำและ อีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2549 พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563
พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 19.18 ,18.20 ,21.74 ตามลำดับ ในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 5.30 ,13.88 ,16.39 ตามลำดับ ในพื้นที่ตำบลยาบี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.96 ,5.29 ,26.39 ตามลำดับ (แหล่งข้อมูลจาก HDC จังหวัดปัตตานี ณ 18 ธันวาคม 2563) ซึ่งแนวโน้มการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กระทรวงวางไว้ และจากการสำรวจข้อมูลของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับยาจาก รพ.สต.ยาบี ทั้งหมด 45 ราย มีพฤติกรรมที่สูบหรี่/ใบจาก จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.67% (แหล่งที่มาของข้อมูล : จากการสำรวจในคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.ยาบี) จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า กลุ่มเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ยังมีการคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในชุมชนยังไม่ทั่วถึง ทำให้การคัดกรองยังไม่ผ่านเกณฑ์ ทำให้กลุ่มเยาวชนมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดความอยากรู้อยากลอง เพื่อนชวน มีภาวะเครียด สภาพแวดล้อมในชุมชม รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ส่งผลทำให้บุตรหลานในครอบครัว มีพฤติกรรมเกิดการเลียนแบบจากผู้ใหญ่ เป็นต้น ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการที่ รพ.สต.ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และใบจากอีกด้วย ซึ่งมันจะส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ อีกทั้งในชุมชนยังไม่มีมาตรการทางสังคมหรือยังไม่มีกฎกติกาในชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในกลุ่มนี้ จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2564” นี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่และโทษของพิษภัยบุหรี่ที่ถูกต้อง

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ ร้อยละ 85

85.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก บุหรี่ได้

2.1 กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 100 2.2 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก (ด้านบุหรี่ได้สำเร็จ) ร้อยละ 10

100.00
3 ๓. เพื่อให้มัสยิด วัด โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดเขตบุหรี่
  1. ร้อยละของมัสยิด วัด โรงเรียน เป็นสถานที่ปลอดเขตบุหรี่ ร้อยละ 100
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 246 45,686.00 6 45,686.00
1 ม.ค. 64 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิก บุหรี่ 38 7,550.00 7,550.00
1 ม.ค. 64 2.กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่ 36 7,308.00 7,308.00
1 ม.ค. 64 3.กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่และยาเสพติดในโรงเรียน 60 10,878.00 10,878.00
1 ม.ค. 64 4.กิจกรรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ในชุมชน และตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่/ใบจาก 50 9,750.00 9,750.00
1 ม.ค. 64 5. ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่ 12 1,800.00 1,800.00
17 ก.พ. 64 จัดเวทีถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 8,400.00 8,400.00

1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ แก่ อสม. ,แกนนำชุมชน/ผู้นำศาสนา , แกนนำครูและนักเรียน

2.ให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และใบจาก

3.ตรวจสุขภาพและคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และใบจาก

4.ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่โดย อสม.ติดตามเดือนละ 1 ครั้ง

5.จัดเวทีถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/คัดเลือกบุคคลต้นแบบด้านพฤติกรรมที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

6.สรุปและประเมินผลการจัดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่

2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ)

3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่

4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2564 14:53 น.