กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน
รหัสโครงการ 64-L8411-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาธินี อับดุลมานะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงตามสภาพจากเดิม พฤติกรรมของแต่ละคนจึงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้องเช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลงไปและมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุกข์ทรมาน ทำให้เกิดความสูญเสียทางทรัพย์สินและชีวิต
จากข้อมูลของระบบข้อมูล HDC โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 618 คน โรคความดันโลหิต จำนวน 445 คน (ร้อยละ 72.00) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 27.99) จำนวน 173 คน ในในปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 201 ราย ตรวจ HBA1C จำนวน 174 คน คุมได้ 45 คน และมีค่า HBA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้คือ น้อยกว่า 7 % จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 22.39 มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 3 รายคิดเป็นร้อยละ 1.73 (ข้อมูลจาก HDC ณ 29/12/2562) ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะรับยาที่ โรงพยาบาลบันนังสตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ โรงพยาบาลรัฐ/เอกชนที่อื่น ตามความสะดวกของผู้ป่วยและตามภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
สืบเนื่องจากนโยบายงานโรคเรื้อรังดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี HBA1C น้อยกว่า 7 % มากกว่าเท่ากับ ร้อยละ 40 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายสุขภาพในระยะยาว ให้ผู้ป่วยสุขภาพดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ เสริมพลัง ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
3 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 15,900.00 1 15,900.00
18 - 19 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน 100 15,900.00 15,900.00

วิธีดำเนินการ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ 2 เสนอโครงการเพื่อให้ประธานพิจารณาอนุมัติ 3 วางแผนและดำเนินการโครงการ
4 จัดกิจกรรมอบรม และเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน 5 ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย 6 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วย 7 จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน 8 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเอง 2 ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ร้อยละ 40 3 สามารถป้องกัน/ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 10:57 น.