กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.น้อยร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านคลองมวน
รหัสโครงการ 64 -L1515- 01 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา สังข์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีรายงานพบผู้ป่วยมาตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพบผู้ป่วยต่อเนื่องทุกปี ทำให้คาดการณ์ว่าอาจมีแนวโน้มการระบาดโรครุนแรงขึ้น โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่ยังพบได้ในบ้านเรือนประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหา และขาดความตระหนักในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
    จากทะเบียนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 8 ราย อัตราป่วย 360.03 ต่อแสนประชากร และในปี พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย อัตราป่วย 630.06 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 10-14 ปี     ด้วยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน จึงได้จัดทำโครงการรอสม.น้อยร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านคลองมวน ขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบความสำเร็จยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ อสม.น้อยเป็นแกนนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

0.00
2 เพื่อให้ อสม.น้อย มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านและโรงเรียน

แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านและโรงเรียนลดลง

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยในการเกิดโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยในการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
5 เพื่อให้ได้นวัตกรรมครีมหอมกันยุง ป้องกันยุงและควบคุมโรคไข้เลือดออก

นวัตกรรมครีมหอมกันยุง สามารถป้องกันยุงได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 6,450.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ 50 6,450.00 -
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ     2. ติดต่อประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ     3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.และผู้นำชุมชน
        4. ประสานงานจัดเตรียมสถานที่จัดทำกิจกรรม     5. ประสานวิทยากรในการฝึกอบรม     6. จัดกิจกรรมโครงการรอสม.น้อยร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านคลองมวน     7. ประเมินผลและรายงานการดำเนินโครงการฯ ต่อประธานคณะกรรมการกองทุนฯตำบลหนองปรือ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.น้อยเป็นแกนนำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ     2. อสม.น้อย มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเอง     3. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบ้านและโรงเรียน     4. ลดอัตราป่วยในการเกิดโรคไข้เลือดออก     5. สามารถนำนวัตกรรมครีมหอมกันยุง ป้องกันยุงและควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 10:57 น.