กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 64-L7574-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดเขาทอง(ชนปากคลอง)
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 33,905.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจรวย พงศ์ประยูร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,100.073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 31 มี.ค. 2564 33,905.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 33,905.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนวัดเขาทอง (ชนปากคลอง) ได้จัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าและครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และเพียงพอแก่นักเรียน การบริการอาหารกลางวันจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน เพราะการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าและครบถ้วนตามหลักโภชนาการอย่างเพียงพอ และเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษจะส่งผลดีต่อสุขภาพนักเรียน โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอย่างยั่งยืน เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีทักษะด้านการเกษตร เพื่อส่งผลผลิตไปสู่การประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียนที่สดใหม่ สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดสารพิษ
  การปลูกผักปลอดสารพิษ โรงเรียนวัดเขาทองประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยผลผลิตที่ได้ คือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (Vermicomposting) เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทำให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศน์ เพื่อเข้าไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสีย เพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่มีสารอาหารพืชสูง และพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถาง หรือเป็นวัสดุสำหรับการปลูกพืชอื่น ๆ อย่างหลากหลาย
  โรงเรียนวัดเขาทอง (ชนปากคลอง) เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ กระทรวงศึกษาธิการ และมีการจัดกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร โดยใช้แนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักโดยมูลไส้เดือนดิน จึงเป็นฐานการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน และสามารถนำผลผลิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในโรงเรียน รวมทั้งเป็นการเสริมทักษะชีวิตให้นักเรียนที่สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมี และการเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์

ข้อที่ 1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการปลูกผัก การเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารเคมีตลอดปีการศึกษา

ข้อที่ 2 จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 33,905.00 3 33,905.00
23 ก.พ. 64 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่อง การปลูกผักและการเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ 70 9,500.00 9,500.00
23 ก.พ. 64 กิจกรรมปลูกผัก 70 12,400.00 12,400.00
23 ก.พ. 64 กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์ 70 12,005.00 12,005.00
  1. อบรมนักเรียนเพื่อให้ความรู้เรื่องการปลูกผักและการเลี้ยงไส้เดือน
  2. หาวงบ่อซีเมนต์ที่มีพื้นและรูระบายน้ำ
  3. นำวงบ่อไปไว้ในที่ร่ม ไม่โดนแดดหรือฝน อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  4. ล้างวงบ่อด้วยน้ำสะอาด 2 – 3 รอบ แล้วแช่ด้วยต้นกล้วยทิ้งไว้ 3 – 5 วัน เพื่อลดความเค็มของปูนซีเมนต์
  5. นำก้อนอิฐหรือก้อนกรวดใส่ตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้อุดรูระบายน้ำด้านในวงบ่อ
  6. ใส่พื้นเลี้ยง (ดินร่วนผสมมูลวัวอัตราส่วน 4 ต่อ 1)
  7. ไส้เดือน 100 ตัว ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางวงบ่อซีเมนต์ 1 เมตร
  8. ทาสบู่หรือน้ำยาล้างจานบริเวณขอบบ่อเป็นแถบกว้าง 1 – 2 นิ้ว ป้องกันไส้เดือนหนี
  9. เติมมูลวัวและเศษขยะอินทรีย์บาง ๆ อย่าให้เกิดความร้อนจากการหมัก
  10. ปิดฝาบ่อด้วยวัสดุแผ่นเรียบ เช่น ไม้อัด ฟิวเจอร์บอร์ด ที่เจาะรูระบายอากาศ
  11. ค่อยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของไส้เดือน และอาจเติมขยะอินทรีย์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการย่อยของไส้เดือน
    หมายเหตุ การติดตามผลใช้เวลาหลังจากอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการปลูกผัก
  2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงไส้เดือนดินในวงบ่อซีเมนต์
  3. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพ
  4. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 12:13 น.