กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)
รหัสโครงการ 64 -L1515- 01 – 09 .
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวหทัยชนก ชำนาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันได้เกิดการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19:) ซึ่งเป็นโรคระบาดใหม่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งสถานการณ์ ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ พบว่าประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันแล้ว จำนวน 24,714 ราย เสียชีวิต 82 ราย ในส่วนของจังหวัดตรัง มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 12 ราย และในส่วนของอำเภอรัษฎา มีผู้ป่วยสะสม 2 ราย โดยพบในพื้นที่ตำบลคลองปาง 1 ราย และตำบลควนเมา 1 ราย โดยผู้ป่วยทั้ง ๒ ราย มีประวัติการเดินทางมากจาดพื้นที่เสี่ยงสูงที่มีการระบาดของโรค ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว และในพื้นที่ตำบลหนองปรือ พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดดารระบาดของโรคได้คือ แรงงานต่างด้าว และการเคลื่อนย้ายของประชากร ซึ่งในตำบลหนองปรือมีสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว จำนวน 4 แห่ง และในส่วนของสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของประชากรที่มีการเดินทางเข้าออกของประชาชนทั้งหมด จำนวน 213 ราย โดยสามารถแยกประเภทของพื้นที่เป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 78 ราย และพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด พื้นที่เฝ้าระวัง จำนวน 135 ราย ซึ่งเมื่อมีประชาชนเดินทางเข้ามาในพื้นที่จะมีการดำเนินการในการควบคุมโรคโดยกระประเมินปัจจัยเสี่ยงและแยกกักเฝ้าระวังอาการผู้ที่เดินทางมาจากต่างจักหวัดโดยแยกดังนี้ 1. การกักกลางที่จังหวัด จำนวน 9 ราย 2. กักกลางของอำเภอ จำนวน 15 ราย 3. กักกลางของหมู่บ้าน จำนวน 2 ราย 4. เฝ้าระวังสังเกตอาการที่บ้าน Home Quarantine จำนวน 172 ราย และ 5. เฝ้าระวัง Self Quarantine จำนวน 15 ราย โดยการแยกกักดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้อย่างเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ ต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมและวางแผนการจัดการภายในชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรค โดยการการดำเนินการให้ความรู้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมและการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ และชี้แจงบทบาทหน้าที่ของ ประชาชน ผู้นำชุม ผู้นำท้องที่ ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเองและสามารถปฏบัติได้อย่างถูกต้องตามหลัก D-M-H-T-T

0.00
2 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถกำกับติดตาม ดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  1. มีข้อกำหนดและมาตรการทางสังคมภายในหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดการ การเคลื่อนย้ายของประชากร
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 3. ดำเนินการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข 0 0.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 1. รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) และให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ของการเกิดโรค 2. สนับให้ชุมชนดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการทำ MOU 300 22,200.00 -
รวม 300 22,200.00 0 0.00
  1. รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) และให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ของการเกิดโรค
  2. สนับให้ชุมชนดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการทำ MOU ในหมู่บ้าน และผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว
  3. ดำเนินการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)
  2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถกำกับติดตาม ดูแลให้เป็นไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 13:45 น.