กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค
รหัสโครงการ 64-L5187-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.สะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 35,845.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมินทร์ลดา จันทรโรชสิทธิ์ นักพัฒนาชุมชน
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆ จากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบัน พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายลำดับต้นๆของประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วน และอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้น้อยลง ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์     จากข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น จำนวน 35 ราย เมื่อเดือนตุลาคม 2563 พบว่าส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อวบ) และอาจมีแนวโน้มเปลี่ยนระดับเป็นอ้วนระดับ 1 เพิ่มขึ้น สำหรับการวัดรอบเอว พบว่าร้อยละ 62 ของบุคลากร อบต.สะพานไม้แก่น มีค่ารอบเอวที่เกินมาตรฐาน แสดงถึงการมีไขมันในช่องท้องสูง และผลการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า ร้อยละ 31.03 มีค่าระดับอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง และร้อยละ 6.9 อยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำตาลเสี่ยงสูงเข้าข่ายผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้
  องค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลากรในองค์กร ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ เพื่อเป็นการสร้างต้นทุนทางสุขภาพที่ดี ที่จะช่วยป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ ให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้านอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์

ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนมีความตระหนักรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้านอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์  โดยวัดจากแบบทดสอบ ความรู้ ก่อนและหลังการอบรม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ลดลงภายหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนัก หรือ เส้นรอบเอว หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด  หรือระดับไขมันในเลือด  ลดลงภายหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยวัดจากสมุดบันทึกสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 229 35,845.00 5 26,175.00
1 เม.ย. 64 สำรวจ รวบรวมข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของพนักงานและพนักงานจ้าง 45 0.00 0.00
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 การตรวจสุขภาพเบื้องต้น 45 12,920.00 11,975.00
21 เม.ย. 64 - 29 ก.ย. 64 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ 45 0.00 0.00
21 เม.ย. 64 กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและประมวลผลสุขภาพ 47 8,150.00 0.00
1 มี.ค. 65 - 24 เม.ย. 66 การอบรมเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ 47 14,775.00 14,200.00

1.สำรวจ รวบรวมข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น ของพนักงานและพนักงานจ้าง 2. การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทุกวันที่ 1 ของเดือน เป็นเวลา 6 เดือน 3. การอบรมเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ 4. การส่งเสริมการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ ทุกวันพุธ เวลา 15.30 - 16.30 น. 5. การติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและประมวลผลสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม)
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนัก เส้นรอบเอว ระดับไขมันในเลือด หรือระดับน้ำตาลในเลือดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 09:55 น.